เดบิต เครดิต (Debits Credits)

เดบิต เครดิต (Debits Credits) - Assalamu'alaikum sahabat WirasNews di manapun berada. Selamat datang di blog pribadi ini. Oke, artikel yang sedang sahabat baca saat ini berjudul เดบิต เครดิต (Debits Credits), artikel ini ditulis dengan penuh perasaan, dan semoga sahabat semua dapat memahami informasi yang disajikan di dalamnya. Oh iya, kata kunci untuk memahami isi artikel ini adalah Accounting, Debits and Credits, การเงิน, เดบิตและเครดิต, บัญชี, selamat membaca.
Judul : เดบิต เครดิต (Debits Credits)
link : เดบิต เครดิต (Debits Credits)


เดบิต เครดิต (Debits Credits)

รูปตาชั่ง สื่อถึงความสมดุลระหว่าง 2 ฝั่ง
Photo by Gerald_G (CC0 1.0)

เดบิต เครดิต คืออะไร?

ที่แน่ ๆ ไม่ใช่ เดบิตคือรายได้ เครดิตคือรายจ่าย

บทความนี้ เขียนขึ้นมาเพื่อแชร์ประสบการณ์ ที่ตอนเจ้าของบล็อก หัดลงบัญชีคู่ แล้วก็เจอปัญหาที่งง ๆ เหมือนกัน

ปูพื้น (Background)

บัญชี ที่เราเห็นอยู่บ่อย ๆ ทุกวันในโลก มีอยู่ 2 ระบบ คือ
  • บัญชีเดี่ยว (Single-entry bookkeeping system)
  • บัญชีคู่ (Double-entry bookkeeping system)

บัญชีเดี่ยว 

คือ บัญชีที่คนทั่วไปคุ้นเคยกันมากที่สุด เกี่ยวกับเรื่อง เงิน ๆ ทอง ๆ
ถ้านึกไม่ออก ให้นึกถึงตอนเป็นเด็ก บัญชีรายรับ-รายจ่ายค่าขนมนั่นแหละ

รูปแบบ คือ
วันที่ รายการ รายรับ รายจ่าย คงเหลือ

ข้อดีคือ มันง่าย
ใช้แค่จดเงินสด ที่วัน ๆ ไหลเข้า-ออก จากตัวเราเท่านั้น
ร้านขายของชำเล็ก ๆ ส่วนใหญ่ก็จะจดแบบนี้กัน เพราะมันง่าย และเหมาะกับงาน

แต่ปัญหาก็เกิดขึ้นทันที เมื่อมีสินทรัพย์ (สิ่งของที่เราถือครอง (ทั้งเงินของเราเอง รวมถึงเงินที่ไปยืมเขามา) และทำให้ก่อดอกออกผล) และหนี้สิน (ภาระที่เราต้องรับผิดชอบ จากการกระทำก่อนหน้านี้) เข้ามาเกี่ยวข้อง
ตัวอย่างเช่น
  • ความงงเรื่องสินทรัพย์ (Assets) จะเขียนลงสมุดบัญชีอย่างไร ถ้าเราเอาเงินค่าขนม ไปซื้อทองแท่ง 1 บาทมา เขียนรายจ่าย ลงไป 2 หมื่น แล้วตัวทองมันไม่มีมูลค่าเลยหรือ เงินมันหายไปจริง ๆ หรือ?
  • ความงงเรื่องหนี้สิน (Liability) กู้เงินมาจากคนอื่นเพื่อไปซื้อของ เงินมันของคนอื่นชัด ๆ แต่เราลงเป็นรายรับได้อย่างไร 
งงไหม?

บัญชีคู่

คือ บัญชีที่คนทั่วไป ไม่ทำกัน
นิยมในธุรกิจ หรือ คนที่มีสินทรัพย์หลายประเภท
ใช้บันทึกสินทรัพย์, หนี้สิน, รายรับ, รายจ่าย, ส่วนของเจ้าของ ได้ด้วย
มีหลายหมวดหมู่ (หลายเล่ม)

หลัก ๆ จะมี 5 หมวดหมู่ ได้แก่

  1. สินทรัพย์ เช่น เงินสดในกระเป๋าสตางค์, เงินในบัญชีธนาคาร, หุ้น, ทอง, ลูกหนี้การค้า, ,ค่าเช่าจ่ายล่วงหน้า, ค่าประกันรถยนต์, เครื่องจักร, อาคาร, ที่ดิน
  2. หนี้สิน เช่น หนี้ยืมเพื่อน, หนี้บัตรเครดิต, ค่าใช้จ่ายค้างจ่าย, เจ้าหนี้การค้า, ภาษีค้างจ่าย, เงินเดือนค้างจ่าย (ถ้าเราเป็นเจ้าของกิจการ)
  3. ส่วนของเจ้าของ เช่น เงินเจ้าของนำมาลงทุน, เงินเจ้าของถอนออกไปใช้, กำไรสะสม
  4. รายรับ เช่น ยอดขาย, เงินเดือน (ถ้าเราเป็นพนักงานกินเงินเดือน), ดอกเบี้ยรับ
  5. รายจ่าย เช่น ค่ากิน, ค่าไฟฟ้า, ภาษี, ค่าเช่า, เงินเดือนพนักงาน (ถ้าเราเป็นเจ้าของกิจการ)
แต่ละหมวด ก็สามารถซอยย่อยเป็นหมวดย่อยเล็ก ๆ ต่อไปได้อีก เช่น
รายรับ:เงินเดือน
รายรับ:ดอกเบี้ยเงินฝาก

รายการหมวดย่อย จะขึ้นอยู่กับมุมมองของเจ้าของบัญชี
เช่น เจ้าของบัญชี เป็นพนักงานบริษัท, เป็นเจ้าของกิจการ
รายการหมวดย่อย ๆ ก็จะแตกต่างออกไปตามธุรกิจนั้น ๆ

รูปแบบแต่ละเล่ม คือ
วันที่ รายการ เดบิต เครดิต คงเหลือ

ดูจากรูปแบบ เวลาลงแต่ละหมวด จะต้องบันทึก เดบิต, เครดิตให้ถูกต้อง

เวลาใช้ จะต้องรำลึกถึงสมการบัญชีก่อน
สมการที่ว่านี้คือ
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ (ทุน)
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ส่วนของเจ้าของ (ทุน) + (รายได้ - รายจ่าย)
Assets = Liability + Owner's Equity
Assets = Liability + Owner's Equity + (Income - Expenses)

ไม่เข้าใจใช่ไหม ว่าเดบิต เครดิต อันไหนบวก (+) อันไหนลบ (-)

กลับมาที่ คำถาม
เดบิต เครดิต คืออะไร? 
สิ่งแรกที่เรามักจะได้ยินคือ
เดบิตคือรายรับ เครดิตคือรายจ่าย <- อันนี้ผิด ตัดทิ้งไปเลย
เดบิตคือซ้าย เครดิตคือขวา <- อันนี้ถูกต้อง
เดบิตคือฝั่งซ้ายสมการ เครดิตคือฝั่งขวาสมการ <- อันนี้ถูกต้อง

ปัญหาต่อไป คือ แล้วเวลาลงหมวดต่าง ๆ เช่น
สินทรัพย์ เพิ่มขึ้น ลงด้านเดบิต
สินทรัพย์ ลดลง ลงด้านเครดิต

รายจ่าย เพิ่มขึ้น ลงด้านเดบิต
รายจ่าย ลดลง ลงด้านเครดิต

หนี้สิน ลดลง ลงด้านเดบิต
หนี้สิน เพิ่มขึ้น ลงด้านเครดิต

ส่วนของเจ้าของ ลดลง ลงด้านเดบิต
ส่วนของเจ้าของ เพิ่มขึ้น ลงด้านเครดิต

รายรับ ลดลง ลงด้านเดบิต
รายรับ เพิ่มขึ้น ลงด้านเครดิต

ประโยคพวกนี้ มีที่มาที่ไปจากที่ไหน?
ต้องนั่งท่องถึกเอาเลยหรือ?

ไม่ถึงกับต้องท่องถึกหรอก ถ้าจำสมการได้ ก็พอจะเข้าใจได้แล้ว
ซ้าย = ขวา
เดบิต = เครดิต
สินทรัพย์ = หนี้สิน + ทุน + รายได้ - รายจ่าย
สินทรัพย์ + รายจ่าย = หนี้สิน + ทุน + รายได้
Assets + Expenses = Liability + Owner's Equity + Income

อะไรที่ทำให้ สินทรัพย์, รายจ่ายเพิ่มขึ้น ลงด้านเดบิต (ฝั่งซ้ายของสมการ)
อะไรที่ทำให้ หนี้สิน, ทุน, รายได้ เพิ่มขึ้น ลงด้านเครดิต (ฝั่งขวาของสมการ)

ในทางกลับกัน

อะไรที่ทำให้ สินทรัพย์, รายจ่ายลดลง ลงด้านเครดิต (ฝั่งขวาของสมการ)
อะไรที่ทำให้ หนี้สิน, ทุน, รายได้ ลดลง ลงด้านเดบิต (ฝั่งซ้ายของสมการ)

ตัวอย่าง 1

วันที่ 30/11/2012
เราได้เงินเดือน 12,000 บาท หักประกันสังคม 600 บาท
รวมยอดสุทธิ เงินเข้าบัญชีธนาคาร 11,400 บาท

เกิดรายการดังนี้
สินทรัพย์เพิ่ม
รายจ่ายเพิ่ม
รายได้เพิ่ม

Dr สินทรัพย์:บัญชีออมทรัพย์ 11,400
Dr รายจ่าย:ประกันสังคม 600
Cr รายได้:เงินเดือน 12,000

ตัวอย่าง 2

วันที่ 30/11/2012
ในบัญชีธนาคารเรามีอยู่ 100,000 บาท + เรามีบัตรเดบิต
เอาไปรูดซื้อเสื้อราคา 5,000 บาท

เกิดรายการดังนี้
รายจ่ายเพิ่ม
สินทรัพย์ลด

Dr รายจ่าย:ค่าเสื้อผ้า 5,000
Cr สินทรัพย์:บัญชีออมทรัพย์ 5,000

เงินในบัญชีเหลือ 95,000 บาท

ตัวอย่าง 3

วันที่ 30/11/2012
เพื่อนเอาเงินมาฝากไว้ที่เรา 1,000 บาท

เกิดรายการดังนี้
สินทรัพย์เพิ่ม
หนี้สินเพิ่ม

Dr สินทรัพย์:เงินสด 1,000
Cr หนี้สิน:เจ้าหนี้ (เพื่อน) 1,000

ตัวอย่าง 4

วันที่ 01/12/2012
เรามีบัตรเครดิต ไปรูดปรื๊ดซื้อวิทยุราคา 7,000 บาท
ครบกำหนดจ่ายชำระหนี้บัตรเครดิตวันที่ 16/12/2012

เกิดรายการดังนี้
วันที่ 01/12/2012
รายจ่ายเพิ่ม
หนี้สินเพิ่ม

วันที่ 16/12/2012
หนี้สินลด
สินทรัพย์ลด

วันที่ 01/12/2012
Dr รายจ่าย:เครื่องใช้ไฟฟ้า 7,000
Cr หนี้สิน:บัตรเครดิต 7,000

วันที่ 16/12/2012
Dr หนี้สิน:บัตรเครดิต 7,000
Cr สินทรัพย์:เงินสด 7,000

บัตรเครดิต/บัตรเดบิต

จากตัวอย่างข้างบน

  • บัตรเดบิต รูดแล้วสินทรัพย์ลดชัด ๆ ไม่ได้ลงฝั่งเครดิตเหรอ?
  • บัตรเครดิต ทำไมถึงได้ชื่อนี้
ที่เป็นแบบนี้ เพราะเรามองจากมุมมองบัญชีของเรา

ชื่อบัตรเดบิต/เครดิต คาดว่าน่าจะเป็นการตั้งชื่อจากมุมมองของธนาคารมากกว่า

บัตรเดบิต

ดังตัวอย่างที่ 3 การที่คนอื่นมาฝากเงินไว้ที่เรา แปลว่าเขาคือเจ้าหนี้เรา
เราเอาเงินไปฝากธนาคาร ก็เช่นเดียวกัน เราเป็นเจ้าหนี้ธนาคาร
ทุกครั้งที่เราใช้บัตรเดบิต หมายความว่า ธนาคารถือครองเงินเราน้อยลง ธนาคารจะเป็นหนี้ลดลง (เดบิตหนี้สิน)


บัตรเครดิต

ดังตัวอย่างที่ 4 การที่เรารูดบัตรเครดิต แล้วเราได้สินค้ามาเลยนั้น
เพราะธนาคารติดต่อกับร้านค้าว่า เมื่อลูกค้ารูดบัตรเครดิตแล้ว เดี๋ยวธนาคารจะจ่ายเงินให้ร้านค้าทีหลัง เอาสินค้าให้เราไปก่อน
เรารูดบัตรเครดิต ธนาคารหนี้สินเพิ่ม (เครดิตหนี้สิน)
พอร้านค้าส่งยอดให้กับธนาคารว่า มีลูกค้ารูดบัตรเครดิตไปเป็นจำนวนเท่าไร
หลังจากนั้นราว ๆ 1 วันทำการ (นับจากวันที่ร้านค้าส่งยอด) ทางธนาคารค่อยโอนเงินเข้าบัญชีของร้านค้า

ขอบคุณ Luca Pacioli (เพื่อนร่วมงาน Leonardo da Vinci)
ที่เผยแพร่สมการคู่ ทำให้โลกของการค้าขายพัฒนาได้มากถึงขนาดนี้

บทความที่เกี่ยวข้อง

เงิน 10 บาทหายไปไหน? (10 Baht Fallacies)

Demikianlah artikel yang berjudul เดบิต เครดิต (Debits Credits)

Terima kasih telah membaca artikel เดบิต เครดิต (Debits Credits), semoga dapat memberi manfaat untuk sahabat semua. Akhir kata, sampai jumpa di postingan artikel lainnya. Wassalamu'alaikum Warohmatullahi Wabarokatuh.

Sahabat telah membaca artikel berjudul เดบิต เครดิต (Debits Credits) dengan alamat link https://wirasnews.blogspot.com/2012/05/debits-credits.html
Advertisement