รีวิวที่ตั้งหนังสือ (Bookstands & Book Holders review)

รีวิวที่ตั้งหนังสือ (Bookstands & Book Holders review) - Assalamu'alaikum sahabat WirasNews di manapun berada. Selamat datang di blog pribadi ini. Oke, artikel yang sedang sahabat baca saat ini berjudul รีวิวที่ตั้งหนังสือ (Bookstands & Book Holders review), artikel ini ditulis dengan penuh perasaan, dan semoga sahabat semua dapat memahami informasi yang disajikan di dalamnya. Oh iya, kata kunci untuk memahami isi artikel ini adalah Book Holders, Bookstands, Review, ที่ตั้งหนังสือ, ที่วางหนังสือ, แท่นวางหนังสือ, รีวิว, selamat membaca.
Judul : รีวิวที่ตั้งหนังสือ (Bookstands & Book Holders review)
link : รีวิวที่ตั้งหนังสือ (Bookstands & Book Holders review)


รีวิวที่ตั้งหนังสือ (Bookstands & Book Holders review)

รีวิวที่ตั้งหนังสือ (Bookstands & Book Holders review)

หนังสือบนแท่นวางหนังสือ Book Stall
ที่อ่านหนังสือ หรือ ที่ฝรั่งเรียกว่า Bookstand, Book Holder
ที่ตั้งหนังสือ, ที่อ่านหนังสือ, ที่วางหนังสือ, แท่นวางหนังสือ, แท่นอ่านหนังสือ (Bookstand, Book Holder) เหมาะสำหรับ คนที่นั่งอ่านเป็นเวลานาน ๆ หรือ ปวดคอเพราะต้องก้มอ่านหนังสือนาน
ลองจินตนาการดูว่า ถ้าเราต้องก้มอ่านหนังสือวันละ 1 ชั่วโมง ตลอด 365 วัน
ตั้งแต่ 10 ขวบ จนถึง 60 ปี
รวมทั้งหมด 50 ปี
คอจะรับไหวไหม
ที่ตั้งหนังสือนี้ จะตั้งหนังสือให้ทำมุมเฉียงขึ้นจากโต๊ะ ทำให้คนอ่านไม่ต้องก้มคอ สามารถนั่ง ตัวตรง คอตรง หลังพิงพนักเก้าอี้ ถูกตามหลักการยศาสตร์ได้ (Ergonomic)

คำถามแรก ๆ เลยสำหรับคนที่คิดจะซื้อที่ตั้งหนังสือเลยคือ

  • ซื้อยี่ห้อไหนดี?
  • ซื้อที่ไหน?
  • ราคาเท่าไร?
  • หนีบกระดาษอยู่ไหม?
  • สร้างความเสียหายให้หนังสือหรือเปล่า?

วันนี้เจ้าของบล็อกจะมารีวิวที่ตั้งหนังสือยี่ห้อต่าง ๆ ที่สามารถหาซื้อได้ในไทย และหน้าตาค่อนข้างอนุรักษ์นิยม

หนังสือที่ใช้

หนังสือเรื่องประวัติศาสตร์มนุษย์ฉบับย่อ เทียบขนาดกับไม้โปรแทรกเตอร์ (Protractor / Scale Ruler)
หนังสือ ประวัติศาสตร์มนุษย์ฉบับย่อ (The Human Web)

ไม้โปรแทรกเตอร์ วัดความหนาของหนังสือได้ 3 เซนติเมตร
ความหนาของหนังสือเล่มนี้ตกอยู่ราว ๆ 3 เซนติเมตร (ประมาณ 1 นิ้วเศษ ๆ)


หนังสือที่ใช้ประกอบรีวิวครั้งนี้คือ

ประวัติศาสตร์มนุษย์ฉบับย่อ (The Human Web)
John Robert McNeill, William H. McNeill
520 หน้า
ISBN 978-974-02-0470-1

ขนาดของหนังสือ (กว้าง x ยาว x สูง) 14 x 21 x 3 เซนติเมตร
หน้าที่ใช้คือหน้าที่ 100 (หน้าต้น ๆ กับหน้าท้าย ๆ มักจะเกิดปรากฎการณ์ หน้าหนังสือหนีที่หนีบได้บ่อยกว่า)



ที่ตั้งหนังสือยี่ห้อ Wooden Reading Rest

แท่นวางหนังสือยี่ห้อ Wooden Reading Rest ถูกพับเก็บอยู่
Wooden Reading Rest ขนย้ายค่อนข้างง่าย แต่เวลาจะเคลื่อนย้าย ต้องใส่ปลอกกระดาษรัดก่อน ไม่งั้นเวลายกที่ตั้งหนังสือขึ้นแล้ว แท่นจะเปิดขึ้นโดยไม่ตั้งใจได้ง่าย

ด้านข้างของแท่นวางหนังสือยี่ห้อ Wooden Reading Rest
ปรับได้หลายองศา

หนังสือวางอยู่บนแท่นวางหนังสือยี่ห้อ Wooden Reading Rest
ส่วนที่มีโอกาสจะกินเนื้อกระดาษ ถูกฝนออกไปจนมนหมดแล้ว
ในรูปจะเห็นว่าหน้าหนังสือแอบหนีที่หนีบหน่อย ๆ ต้องเลื่อนหนังสือเถิบไปทางซ้ายอีกเล็กน้อย ถึงจะดีขึ้น
ยี่ห้อนี้ ของบริษัท That Company Called 'IF' ออกแบบในประเทศอังกฤษ
หาซื้อได้ที่ร้านหนังสือ Asia books

ราคาอยู่ที่ประมาณ 950 บาท

ตัวนี้สามารถปรับมุมได้หลายองศา

แท่นวางและตัวหนีบไม่กินเนื้อหนังสือ (แท่นวางเป็นชิ้นเดียว) ทำให้หนังสือไม่ค่อยเสียหาย

ตัวหนีบ สามารถล็อกหน้าหนังสือได้ค่อนข้างดี ไม่หลุด แต่บางเล่มหนังสือจะแอบหนีที่หนีบบ้าง
ที่หนีบบังตัวหนังสือในบางตำแหน่ง

โครงสร้างแข็งแรง

โดยส่วนตัวเจ้าของบล็อกชอบอันนี้ที่สุด



ที่ตั้งหนังสือยี่ห้อ Book Stall

ที่ตั้งหนังสือยี่ห้อ Book Stall ขณะถูกพับเก็บ
หน้าตาขณะพับเก็บ ขนย้ายใส่กระเป๋าลำบาก เพราะถ้ามีอะไรไปทับ บานพับจะงอเอาได้

ด้านข้างของที่ตั้งหนังสือ Book Stall
แท่นวางหนังสือ แยกออกเป็น 2 ส่วน

หนังสือวางอยู่บนที่ตั้งหนังสือยี่ห้อ Book Stall
แท่นหนีบ ใส ไม่บังตัวหนังสือ และยังสูง ทำให้เข้ากับหนังสือประเภทต่าง ๆ ได้ดี

ตัวเหน็บกระดาษของที่ตั้งหนังสือยี่ห้อ Book Stall ขณะที่หมุนลงมากกว่าที่ควรเป็น จะเกิดปลายแหลมขึ้นมา
ที่หนีบเวลาตกลงไปมาก ๆ จะเกิดเขี้ยวขึ้นมา ถ้าพลิกหนังสือตอนนี้ ที่หนีบจะกินเนื้อหนังสือ
วิธีแก้คือ คอยขันน็อตตรงนี้ให้แน่นอยู่เสมอ เพื่อไม่ให้ที่หนีบ ตกลงต่ำกว่าระนาบขอบฟ้า (Horizontal line)
ของยี่ห้ออื่น ตรงเขี้ยวนี้จะถูกฝนจนมนกลม
ที่ตั้งหนังสืออันนี้ ของคนไทยทำ
หาซื้อได้ที่ร้านหนังสือ SE-ED

ราคาอยู่ที่ราว ๆ 300 บาท

รุ่นนี้สามารถปรับองศาไม่ได้

แท่นวางและตัวหนีบหนังสือ ค่อนข้างกินเนื้อหนังสือ
จากที่ลองใช้ดู เนื่องจากรุ่นนี้เป็นแบบพับได้
ทำให้แท่นวางถูกแยกออกเป็น 2 อัน เวลาวางหนังสือที่มีน้ำหนักลงไป ระดับแท่นวางจะไม่เท่ากัน พอพลิก ตรงที่ต่างระดับจะกินเนื้อหนังสือ
ส่วนตัวหนีบ ถ้าตัวหนีบตกลงไปเยอะ ๆ (ดูรูปข้างบนประกอบ) จะเกิดเขี้ยวขึ้น เวลาพลิกหน้า เขี้ยวตรงนี้จะกินเนื้อหนังสือเข้าไป (ถ้าไปแอบดูของรุ่นอื่น ตรงนี้จะถูกฝนออกไปจนมนกลม)
เหตุผลที่ ที่หนีบ ตกได้ เพราะเมื่อใช้ไปนาน ๆ น็อตจะคลายตัวออก ทำให้หล่นค่อนข้างง่าย

ตัวหนีบรุ่นนี้ ถ้าไม่นับเรื่องกินกระดาษ
เจ้าของบล็อกชอบตัวหนีบอันนี้ที่สุด
เพราะหนีบได้ดีที่สุด และใส ของเห็นตัวหนังสือได้ทะลุ ไม่บังตัวอักษร
หนังสือใหญ่ เล็ก หนา บาง รุ่นนี้เอาอยู่

โครงสร้างแข็งแรง

ที่สำคัญ งานชิ้นนี้ ผลงานคนไทยทำ



ที่ตั้งหนังสือยี่ห้อ aidata

ที่ตั้งหนังสือยี่ห้อ aidata ขณะพับเก็บอยู่
หน้าตาขณะพับเก็บ ขนย้ายได้ง่าย

ด้านข้างของที่ตั้งหนังสือยี่ห้อ aidata
ตัวหนีบสามารถดึงออกมาในทิศทาง หน้า-หลังได้ (แต่ถอดออกมาไม่ได้นะ)
ปรับได้หลายองศา

ที่ตั้งหนังสือ aidata ขณะวางหนังสืออยู่
ที่หนีบอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางมากไปหน่อย ถ้าหนังสือเล่มเล็กกว่านี้ อาจจะมีปัญหากับแท่นนี้ได้

ที่ตั้งหนังสือ aidata มีแท่นเสริมที่สามารถชักขึ้นให้รองรับกระดาษที่มีความสูงได้
แท่นเสริม สำหรับเวลาวางกระดาษ A4

ที่ตั้งหนังสือ aidata ขณะเปิดใช้แท่นเสริม โดยมีกระดาษขนาด A4 วางอยู่
แท่นเสริมความสูงสามารถหนีบกระดาษได้ด้วย แต่หนีบได้ทีละไม่มาก (น่าจะไม่เกิน 3 แผ่น)
ใช้เป็นแท่นหนีบเอกสารเวลาพิมพ์งานได้
อันนี้มาจากบริษัท aidata จากไต้หวัน
หาซื้อได้ตามอินเตอร์เน็ต

ราคาราว ๆ 270-300 บาท

รุ่นนี้สามารถปรับมุมได้หลายองศา

แท่นวางและตัวหนีบหนังสือไม่กินเนื้อหนังสือ
แต่ตัวหนีบหนังสือทำให้หนังสือยับเล็กน้อยได้

ตัวหนีบรุ่นนี้ไม่ค่อยเหมือนชาวบ้าน คือ ที่หนีบสามารถดึงออกในทิศทาง หน้า-หลังได้ ทุกครั้งที่เปลี่ยนหน้า ต้องดึงที่หนีบให้คลายออกมาก่อน > พลิกหน้า > แล้วกดตัวหนีบ ให้ดันหน้าหนังสือ
หนีบได้ค่อนข้างดี และไม่ค่อยบังตัวหนังสือ (ตัวหนีบไปหนีบตรงมุมกระดาษพอดี) ยกเว้น หนังสือเล่มเล็ก
ที่หนีบรุ่นนี้ จะอยู่ห่างจากตรงกลางค่อนข้างมาก และความสูงของที่หนีบค่อนข้างเตี้ย
เวลาไปเจอหนังสือเล่มเล็กเข้า จะหนีบไม่ได้ เพราะหนังสือกางแล้ว ไม่ถึงตัวหนีบ

โครงสร้างแข็งแรง (ตรงฐานมียางกันลื่นด้วย)

ที่พิเศษคือ รุ่นนี้สามารถยกแท่นเสริมความสูง ใช้เป็นแท่นวางกระดาษ A4 ได้
เหมาะสำหรับการอ่านเอกสาร A4 ที่ไม่หนามาก หรือ พิมพ์งาน
(ถ้าเป็นรุ่นอื่นที่ไม่มีแท่นเสริมความสูง เวลาวางกระดาษ A4 แล้ว กระดาษจะหักไปข้างหลังเอา)


เหตุผลที่เจ้าของบล็อกบอกว่าเอกสารไม่หนามาก เพราะกระดาษ A4 ถ้าเย็บมุมด้วยแม็ก และหนา ๆ หน่อย เวลาวางบนแท่น จะเกิดอาการแบบกระดาษสไลด์เอาได้ (ย้อยลงมา)
ต้องปรับมุมด้านหลังให้ลงนอนเยอะ ๆ หน่อย จะช่วยลดอาการนี้ได้

โดยส่วนตัวเจ้าของบล็อกชอบใช้อันนี้เป็นแท่นวาง สำหรับอ่านหนังสือเล่มขนาดกลาง, ใหญ่ หรือ อ่านหนังสือผ่านเครื่องคินเดิล (Kindle) (อ่านเพิ่มเติม รีวิวคิลเดิลสี่)



ที่ตั้งหนังสือยี่ห้อ Bookchair

ที่ตั้งหนังสือยี่ห้อ bookchair ขณะพับเก็บอยู่
หน้าตาขณะพับเก็บ ขนย้ายค่อนข้างง่าย
ข้อต่อมีแรงเสียดทานพอประมาณ ทำให้ไม่แยกออกเป็นชิ้น ๆ
ตรงด้านหลังทำด้วยผ้า (มีขายรุ่นสีน้ำเงิน กับ สีรุ้ง) ถอดออกมาจากไม้ไม่ได้
ถ้าเลอะแล้ว เลอะเลย

ด้านข้างของที่ตั้งหนังสือยี่ห้อ bookchair
ปรับได้หลายองศา

ที่ตั้งหนังสือ aidata ขณะวางหนังสืออยู่
ที่หนีบอยู่ห่างจากจุดศูนย์กลางมาก
ถ้าหนังสือเล่มเล็กกว่านี้ จะล็อกไม่อยู่ (ตัวหนีบมันกดไม่ได้)
ถ้าหนังสือเล่มโตดังเช่นภาพ ตัวหนังสือจะหนีเข้าตรงกลางหมด

แท่นวางชนิดมีรูสำหรับใส่สายชาร์จ iPad ของ bookchair
มีรูสำหรับใส่สายชาร์จ
อันนี้มาจากบริษัท Thinking Gifts ออกแบบจากประเทศอังกฤษ
หาซื้อได้ที่ร้านหนังสือ Asia books

ราคาราว ๆ 900 บาท

รุ่นนี้สามารถปรับมุมได้หลายองศา

แท่นวางและตัวหนีบหนังสือไม่กินเนื้อหนังสือ
แต่ตัวหนีบหนังสืออยู่ห่างจากตรงกลางเยอะ ทำให้หนีบหนังสือไม่ค่อยอยู่
ยิ่งไปเจอหนังสือเล่มเล็ก ๆ อ่านไม่ได้เลย
(ถ้าเป็น aidata ของไต้หวัน จะกดลงไปเพื่อให้หน้าหนังสืออยู่นิ่ง ๆ ได้)
ด้านพนักพิงทำด้วยผ้า ซึ่งเป็นแบบถอดซักไม่ได้

โครงสร้างแข็งแรง (ตรงฐานมียางกันลื่น กันโต๊ะเป็นรอยด้วย)

โดยส่วนตัวเจ้าของบล็อกชอบใช้อันนี้เป็นแท่นวาง Tablet เช่น พวก iPad เพราะตรงฐานวาง มีรูสำหรับใส่สายชาร์จได้ด้วย




ที่ตั้งหนังสือแบบไม่มีที่ล็อก

ที่ตั้งหนังสือแบบไม่มีที่ล็อก ขณะพับเก็บ
หน้าตาขณะพับเก็บ

ด้านข้างของที่ตั้งหนังสือแบบไม่มีที่ล็อก
ปรับมุมได้ 2 ระดับ

ที่ตั้งหนังสือแบบไม่มีที่ล็อกขณะวางหนังสือ
บังตัวหนังสือ
ที่ตั้งหนังสืออันนี้ ของคนไทยทำเหมือนกัน

ราคาจำไม่ได้แล้ว


รุ่นนี้สามารถปรับองศาได้ 2 มุม

แท่นวางและตัวหนีบหนังสือ รุ่นนี้เป็นชิ้นเดียวกัน ไม่กินเนื้อหนังสือ
แต่บังตัวหนังสือสุด ๆ
พลิกหน้าหนังสือได้ไม่สะดวกที่สุด
ถ้าไปเจอหนังสือเล่มเล็ก ๆ ย้วย ๆ เข้า หน้าจะตกลงค่อนข้างเยอะ

โครงสร้างแข็งแรง



สรุป

ถ้าเลือกซื้อได้ เจ้าของบล็อกคิดว่าที่ตั้งหนังสือ 3 รุ่น ที่น่าจะคุ้มค่าเงิน คือ
  • Book Stall (ถ้าไม่นับเรื่องกินเนื้อกระดาษหนังสือ เจ้าของบล็อกจะชอบอันนี้ที่สุด)
  • aidata (ที่หนีบไม่บังตัวหนังสือ แต่รุ่นนี้วางหนังสือเล่มเล็กไม่ได้)
  • Wooden Reading Rest (แพงไปหน่อย + บังตัวหนังสือบ้าง)

Demikianlah artikel yang berjudul รีวิวที่ตั้งหนังสือ (Bookstands & Book Holders review)

Terima kasih telah membaca artikel รีวิวที่ตั้งหนังสือ (Bookstands & Book Holders review), semoga dapat memberi manfaat untuk sahabat semua. Akhir kata, sampai jumpa di postingan artikel lainnya. Wassalamu'alaikum Warohmatullahi Wabarokatuh.

Sahabat telah membaca artikel berjudul รีวิวที่ตั้งหนังสือ (Bookstands & Book Holders review) dengan alamat link https://wirasnews.blogspot.com/2012/11/bookstands-book-holders-review.html
Advertisement