หนังสือ ความมั่งคั่งของประชาชาติ แปลไทย (The Wealth of Nations Thai Translation)

หนังสือ ความมั่งคั่งของประชาชาติ แปลไทย (The Wealth of Nations Thai Translation) - Assalamu'alaikum sahabat WirasNews di manapun berada. Selamat datang di blog pribadi ini. Oke, artikel yang sedang sahabat baca saat ini berjudul หนังสือ ความมั่งคั่งของประชาชาติ แปลไทย (The Wealth of Nations Thai Translation), artikel ini ditulis dengan penuh perasaan, dan semoga sahabat semua dapat memahami informasi yang disajikan di dalamnya. Oh iya, kata kunci untuk memahami isi artikel ini adalah Adam Smith, The Wealth of Nations, ความมั่งคั่งของประชาชาติ, แปลไทย, หนังสือแปล, อดัม สมิธ, selamat membaca.
Judul : หนังสือ ความมั่งคั่งของประชาชาติ แปลไทย (The Wealth of Nations Thai Translation)
link : หนังสือ ความมั่งคั่งของประชาชาติ แปลไทย (The Wealth of Nations Thai Translation)


หนังสือ ความมั่งคั่งของประชาชาติ แปลไทย (The Wealth of Nations Thai Translation)

ความมั่งคั่งของประชาชาติ โดย อดัม สมิธ เล่มที่ 1 แปลโดย กฤตณัฐ ธรรมาภิบาลจิต เรียบเรียงโดย สิริลักษณ์ จังรุ่งสกุล
ความมั่งคั่งของประชาชาติ เล่มที่ 1

*** หนังสือ ความมั่งคั่งของประชาชาติ (The Wealth of Nations)
เล่มที่ 4 ฉบับแปลไทย
ISBN-13: 9786164553132
มีวางจำหน่ายแล้ววันนี้ ***

สำหรับคนที่มีความสนใจในหนังสือที่เกี่ยวข้องกับ เศรษฐศาสตร์การเมือง ประวัติศาสตร์ และสังคมศาสตร์ คงจะมีน้อยคนนักที่ไม่รู้จักหนังสือที่มีชื่อว่า ความมั่งคั่งของประชาชาติ โดย อดัม สมิธ (The Wealth of Nations by Adam Smith)

แม้ว่าหนังสือเล่มนี้ จะถูกเขียนโดย อดัม สมิธ มาเป็นเวลา 200 กว่าปีมาแล้ว แต่ไม่ว่าจะผ่านมากี่ยุคกี่สมัยจวบจนถึงปัจจุบัน หนังสือเล่มนี้ก็ยังคงถูกจัดเป็นหนังสือที่ได้ผ่านสายตาของผู้นำประเทศในหลาย ๆ ประเทศ และนักคิดผู้ทรงอิทธิพลหลาย ๆ คนมาแล้ว หรือแม้กระทั่งอภิมหาเศรษฐีอันดับต้น ๆ ของโลกอย่าง วอร์เรน บัฟเฟต์ ก็ยังเคยกล่าวไว้ในคำนิยมของหนังสือวิเคราะห์หลักทรัพย์ฉบับปรับปรุงครั้งที่ 6 (Security Analysis 6th Edition) ว่า หนังสือเล่มนี้เป็นหนึ่งในหนังสือจำนวนสี่เล่มที่เขาชื่นชอบมากเป็นพิเศษที่ถือได้ว่าเป็นรากฐานที่สำคัญในการตัดสินใจทางธุรกิจของเขาเลยทีเดียว

นอกเหนือไปจากนั้น แนวคิดของอดัม สมิธจากหนังสือ The Wealth of Nations นี้ ก็ยังได้ปรากฎอยู่ในหนังสือเรียนตั้งแต่ระดับมัธยมศึกษาในวิชาสังคมศาสตร์ ซึ่งเราทุกคนก็คงคุ้นหูคุ้นตากันอยู่แล้ว ไม่ว่าจะเป็นกลไกการทำงานของอุปสงค์-อุปทาน, มือที่มองไม่เห็น หรือความหมายของคำว่าเสรีนิยม ดังนั้น มันจึงเป็นสิ่งที่พิสูจน์ให้เราได้เห็นแล้วว่า มันเป็นหนังสือทรงคุณค่าที่อมตะ และมีความทันสมัย ซึ่งเราสามารถนำมาประยุกต์ใช้ได้ตลอดกาล ดังที่เราจะเห็นได้ว่าหนังสือเล่มนี้ได้รับความนิยมมากจนมีการนำไปแปลแล้วในหลาย ๆ ประเทศมากถึง 18 ภาษา อันได้แก่ ภาษาเยอรมัน (1776), ภาษาฝรั่งเศส (1778), ภาษาเดนมาร์ก (1779), ภาษาอิตาลี (1790), ภาษาสเปน (1792), ภาษาดัชต์ (1796), ภาษาสวีเดน (1800), ภาษารัสเซีย (1802), ภาษาโปรตุเกส (1811), ภาษาญี่ปุ่น (1870), ภาษาจีน (1901), ภาษาโปแลนด์ (1927), ภาษาเช็ก (1928), ภาษาฟินแลนด์ (1933), ภาษาโรมาเนีย (1934), ภาษาตุรกี (1948), ภาษาเกาหลี (1957), ภาษาอาหรับ (1959)

แต่อย่างที่เจ้าของบล็อกได้เกริ่นไว้ตั้งแต่ต้นแล้วว่า หนังสือเล่มนี้เป็นหนังสือที่ถูกเขียนขึ้นมาเป็นเวลา 200 กว่าปีมาแล้ว ดังนั้น มันจึงเต็มไปด้วยโครงสร้างทางภาษาหรือสำนวนที่ค่อนข้างโบราณ และยังคงมีการใช้ระบบเงินตราแบบเก่าของอังกฤษเข้ามาเกี่ยวข้อง ซึ่งอาจจะเป็นอุปสรรคอย่างหนึ่งสำหรับผู้อ่านไม่มากก็น้อย

ด้วยเหตุนี้ เจ้าของบล็อกจึงได้จัดทำหนังสือ The Wealth of Nations ฉบับแปลไทยขึ้นมาเป็นครั้งแรก (กรกฎาคม 2016)
โดยใช้ถ้อยคำที่ถูกร้อยเรียงให้มีความเป็นธรรมชาติ และอ่านง่ายที่สุดเท่าที่จะทำได้ นอกจากนั้น ยังมีคำอธิบายเกี่ยวกับวิธีการคำนวณระบบเงินตราแบบเก่าของอังกฤษ และเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์เบื้องหลัง อยู่ในส่วนของเชิงอรรถ เพื่อให้ผู้อ่านเข้าใจได้ง่ายขึ้นอีกด้วย

เจ้าของบล็อกก็หวังเป็นอย่างยิ่งว่า หนังสือ The Wealth of Nations ฉบับแปลภาษาไทยเล่มนี้ จะเป็นประโยชน์สำหรับทุก ๆ คนที่มีความสนใจเกี่ยวกับแนวคิดที่สำคัญซึ่งเป็นรากฐานของเศรษฐศาสตร์ และเป็นสิ่งที่อยู่รอบ ๆ ตัวเราในทุกวันนี้ เพราะแม้ว่ารูปแบบการดำเนินชีวิตในปัจจุบัน หรือสถานการณ์ต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นในแต่ละยุคสมัย มันจะเปลี่ยนแปลงไปมากแค่ไหนก็ตาม แต่หลักการพื้นฐานของกลไกทางเศรษฐศาสตร์ ก็ยังคงไม่เปลี่ยนแปลงไป
ดังนั้นแล้ว มันจะไม่ดีกว่าหรือถ้าเราได้รู้ว่าองค์ประกอบเล็ก ๆ ซึ่งเป็นตัวขับเคลื่อนที่อยู่เบื้องหลังกลไกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นนั้น มีการทำงานอย่างไร และเราจะสามารถนำมันมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับธุรกิจหรืออาชีพของเราได้อย่างไร

อย่างที่ชื่อเต็มของหน้าปกหนังสือเขียนไว้ว่า
"การสืบค้นเพื่อหาถึงลักษณะตามธรรมชาติและสาเหตุที่นำไปสู่ความมั่งคั่งของแต่ละชาติ"
(ค้นหาในแต่ละชาติ ว่าทำไมบางชาติมั่งคั่ง บางชาติหยุดนิ่ง และบางชาติยากจน แต่ละชาติเหล่านี้มีนโยบายแตกต่างกันอย่างไร และมันมีหลักการอะไรที่นำพาให้ชาตินั้น ๆ มั่งคั่งขึ้นมาได้)

แรงดึงดูด มีปรากฎอยู่ในธรรมชาติของมันมานานแล้ว นิวตันไม่ได้เป็นผู้สร้างมันขึ้นมา แต่นิวตันเป็นผู้ค้นพบมันโดยการใช้วิทยาศาสตร์ และคณิตศาสตร์
หลักการในระบบเสรีนิยม ค่อย ๆ มีวิวัฒนาการอยู่ในสังคมมนุษย์มานานแล้ว อดัม สมิธไม่ได้เป็นผู้สร้างมันขึ้นมา แต่อดัม สมิธเป็นผู้ค้นพบหลักการที่นำพาไปสู่ความมั่งคั่ง ผ่านการมองประวัติศาสตร์ และปรัชญาแบบประสบการณ์นิยม (empiricism)

ซึ่งในหนังสือเล่มนี้ก็จะพาผู้อ่านไปไขข้อสงสัยของคำถามที่ว่า
  • ความมั่งคั่งที่แท้จริงคืออะไร?
    มันอยู่ในสิ่งประดิษฐ์ต่าง ๆ ที่อยู่รอบตัวเรา เช่น ธัญพืช, พืชผักสวนครัว, ผลไม้, เนื้อสัตว์, มีด, ส้อม, จาน, เสื้อผ้า, บ้าน, เฟอร์นิเจอร์, บานกระจก ฯลฯ (สิ่งของจำเป็น, สิ่งของที่นำมาซึ่งความสะดวกสบายให้กับชีวิต, และสิ่งของที่นำมาซึ่งความเพลิดเพลิน)
    ที่เกิดจากการที่มนุษย์ต้องเสียสละความสุขและหยาดเหงื่อของตน (แรงกาย)
    ไปเลี้ยง ไปตัด ไปปั่นด้าย ไปย้อมสี ไปทอผ้า ไปตัดเย็บ
    โดยการสร้างอุปกรณ์ในการตัดเย็บทั้งแบบพื้น ๆ และแบบซับซ้อน ก็ต้องมีแรงงานไปขุดเข้าไปใต้บาดาล ไปสกัด ไปตัก ไปขน ต้องมีแรงงานไปตัดไม้ ไปเผาทำเชื้อเพลิง จากนั้นก็นำทั้งหมดนี้ ไปเข้าเตา ไปหลอม ไปถลุง ไปตี ไปหล่อขึ้นรูป ไปเคาะ ไปกลึง ไปฝน ฯลฯ อีกมากมาย
    ซึ่งต้องใช้องค์ความรู้สะสมและทักษะต่าง ๆ ในการสร้างสรรค์สิ่งประดิษฐ์ที่สวยงามและนำมาซึ่งความสุขเช่นนี้ (แรงสมอง)?
    หรือ
    มันอยู่ในก้อนแร่เงินแร่ทองที่ดูแวววาว ที่นำไปทำอะไรไม่ได้ นอกไปจากนำไปทำเป็นเหรียญเงินเหรียญทอง (เงินตรา) และเครื่องประดับหรูหรา?
  • ใครเป็นผู้สร้างความมั่งคั่งออกมา? แล้วผู้สร้างความมั่งคั่งเหล่านี้ รู้ตัวไหมว่าเขาสร้างประโยชน์ให้กับสังคมมากขนาดไหน?
    เมื่อพิจารณาดูดี ๆ แล้ว เราจะเห็นได้ว่า
    แรงงานเป็นผู้สร้างความมั่งคั่งขึ้นมา และแรงงานก็เป็นผู้ให้มูลค่าแก่สิ่งต่าง ๆ บนโลกใบนี้
  • มนุษย์เราแลกเปลี่ยนสินค้า/บริการ ระหว่างกันและกันทำไม? มนุษย์แลกเปลี่ยนความรู้ความชำนาญของกันและกัน หรือ มนุษย์แลกเปลี่ยนแร่เงินแร่ทอง?
  • ความมั่งคั่งของประชาชาติคืออะไร?
    การที่แรงงาน ซึ่งเป็น "ผู้คนจำนวนมากในชาติ" ในระดับครัวเรือน (เศรษฐกิจครัวเรือน) มารวมตัวกันในระดับชาติ (เศรษฐกิจการเมือง)
    มี "ผลิตภาพ" สูง ๆ มีการแลกเปลี่ยนผลผลิตกันอย่างเสรี มันจะทำให้ผลผลิตรายปีมีจำนวนเพิ่มมากขึ้น (เหล่าแรงงานเป็นผู้สร้างความมั่งคั่งบนโลกให้เพิ่มขึ้นมาได้) ผู้คนจำนวนมากในสังคมมีรายได้ที่แท้จริงเพิ่มมากขึ้น ผู้คนจำนวนมากในสังคมมีทุนสะสม และมีการลงทุนซ้ำ กลายเป็นวงจรที่สร้างผลดี กลายเป็นชาติที่มี "อำนาจซื้อ"
    ผลที่ตามมาคือ มันจึงทำให้สินค้าหมุนเวียนในระบบที่ตอบสนองต่อความต้องการของคนในชาตินั้น ๆ มีจำนวนเพิ่มมากขึ้น (ทรัพยากรถูกนำไปใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุด) เศรษฐกิจ "เติบโต" ซึ่งยิ่งทำให้ "อำนาจซื้อ" เพิ่มมากขึ้น วนเป็นวงจรไปเรื่อย ๆ และสิ่งที่สำคัญที่สุดคือ มันทำให้ระดับ "คุณภาพชีวิต" ของประชากรดีขึ้นเรื่อย ๆ?
    หรือ
    การที่รัฐพยายามสะสมก้อนแร่เงินแร่ทองเอาไว้มาก ๆ และกักขังมันไว้ ไม่ให้ออกไปจากประเทศของเราได้ ด้วยวิธีการต่าง ๆ นานา?
  • การสะสมทุนนั้น มีความสำคัญอย่างไร?
  • "ความรู้ประยุกต์" หรือเรียกอีกนัยหนึ่งในชื่อที่ทันสมัยว่า "เทคโนโลยี" มีความสำคัญมากขนาดไหน (ถ้าภาษาในยุคสมัยใหม่ก็อาจจะพูดได้ว่า เครื่องจักรทุ่นแรงกาย, Artificial intelligence ทุ่นแรงสมอง)? ทำไมวอร์เรน บัฟเฟต์ถึงบอกว่าการลงทุนที่ดีที่สุด คือ การลงทุนในตัวคุณเองเป็นอย่างแรก [การลงทุนในสินทรัพย์ภายนอก มีความสำคัญในระดับรองลงมา]?
  • อะไรเป็นตัวขับเคลื่อนให้เศรษฐกิจขยายตัว?
  • ผลิตภาพ (productivity), ประสิทธิภาพเมื่อเทียบกับทรัพยากรที่มี มีความสำคัญมากขนาดไหน?
  • ทำไมคนเราจะต้องแลกเปลี่ยนกันตลอดไป?
  • ในมุมมองส่วนบุคคลและมุมมองของสังคม การค้าที่เกิดขึ้นเองตามธรรมชาติ (ที่ไม่มีการไปบีบบังคับ) มีความสำคัญอย่างไร?
  • หน้าที่ของเงินตราคืออะไร? มันเป็นแค่หน่วยวัด หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ สิ่งที่มนุษย์สมมติให้เป็นเพียงตัวแทนของความมั่งคั่งใช่ไหม?
  • ทำไม "เศรษฐกิจเติบโต" ถึงมีความสำคัญมากกว่า "การที่ประเทศร่ำรวย"?
  • ทำไม "อัตราการเติบโตของเศรษฐกิจ" กับ "อัตราการเติบโตของจำนวนประชากร" เป็นสิ่งที่ต้องคอยจับตาดู?
  • ถ้าเศรษฐกิจ "หยุดนิ่ง" แต่อุปทานแรงงาน "เพิ่มมากขึ้น" คุณภาพชีวิตของประชากรจะเป็นอย่างไร?
  • ปัจจัยการผลิต มีชนชั้นใดเข้ามาเกี่ยวข้องบ้าง?
  • แต่ละชนชั้น มีแรงจูงใจอย่างไร และมีรูปแบบอย่างไร?
  • ทำไมการทำเกษตรกรรม กับ การทำอุตสาหกรรม เป็นสิ่งที่ต้องเติบโตคู่ขนานกันไป?
  • ทำไมในยามทุกข์ยาก สิ่งของจำเป็นมีมูลค่ามากกว่าสิ่งของฟุ่มเฟือย แต่ในทางกลับกัน ทำไมในยามรุ่งเรือง สิ่งของฟุ่มเฟือยจึงมีมูลค่ามากกว่าสิ่งของจำเป็น อะไรเป็นตัวให้มูลค่าแก่สิ่งของฟุ่มเฟือย? ทำไมชนพื้นเมืองชาวแอซเทคถึงมองว่าก้อนทองที่พวกเขามีอยู่ไม่ได้มีค่ามากเท่าไรนัก จึงมอบทองให้กับนักสำรวจชาวสเปนไปอย่างง่ายดาย ในขณะที่นักสำรวจชาวสเปนกลับคลั่งไคล้ก้อนทองนี้เป็นอย่างมากจนชนพื้นเมืองชาวแอซเทคงุนงงเป็นอย่างมาก
  • ผลประโยชน์ของแต่ละชนชั้น วิ่งไปในทิศทางเดียวกันกับผลประโยชน์ของสังคม หรือสวนทางกันกับผลประโยชน์ของสังคม?
  • นายทุนมีบทบาทสำคัญอย่างไร?
  • ในโลกดึกดำบรรพ์ มันเป็นโลกที่ทุกคนยากจนเท่าเทียมกัน
    แต่ต่อมา การที่คน ๆ หนึ่งลงแรงกาย และแรงสมองในการนำทรัพยากรธรรมชาติไปสร้างสินค้าที่มีมูลค่ามากกว่าเดิมขึ้นมา จึงทำให้สินค้าของเขามีคุณค่ามากกว่าสินค้าของคนอื่น ๆ ในสังคม (เกิดความไม่เท่าเทียมขึ้นมาแล้ว)
    เขาจึงพยายามอดออมรายได้ของเขา และนำทุนที่เขาสะสมนี้ ไปทำการลงทุนซ้ำในธุรกิจ เพื่อขยายกำลังการผลิต เกิดการแบ่งงานกันทำกันมากขึ้น จนทำให้ความมั่งคั่งเพิ่มมากขึ้น
    ประเภทของทุนในมุมมองของปัจเจกบุคคลเหล่านี้ สามารถแบ่งออกมาเป็นทุนประเภทใดได้บ้าง
  • ประเภทของทุนในมุมมองของสังคม สามารถแบ่งออกมาเป็นทุนประเภทใดได้บ้าง? 
  • ทุนหมุนเวียนและทุนถาวรมีความแตกต่างกันอย่างไร?
  • การหมุนเวียนของทุนหมุนเวียน ทำไมถึงมีความสำคัญเป็นอย่างมาก
  • ระบบธนาคารในศตวรรษที่ 18 ทำงานแบบไหน และพ่อค้ามีเทคนิคในการโกงธนาคารกันอย่างไร?
  • วิกฤติเศรษฐกิจที่เกิดขึ้นในศตวรรษที่ 18 เกิดขึ้นมาได้อย่างไร? (ซึ่งเหตุการณ์ในครั้งนี้ มันได้เกิด "ผล" ที่ทำให้ความสัมพันธ์ระหว่างบริเตนใหญ่กับอาณานิคมย่ำแย่ลงเป็นอย่างมาก และต่อมามันก็ได้จุดชนวนให้เกิด Boston Tea Party ขึ้นมา)
  • กงล้อที่ใช้หมุนสินค้า กับ สินค้าที่วางอยู่บนล้อ แตกต่างกันอย่างไร?
    เราควรสนใจที่กงล้อที่ใช้หมุนสินค้า หรือ เราควรสนใจในการผลิตสินค้าเพื่อนำสินค้าไปวางอยู่บนล้อ?
  • ทำไมเงินกระดาษ ถึงมีความเหนือกว่า เงินที่ทำจากโลหะมีค่า?
  • อัตราดอกเบี้ย กับ ราคาที่ดิน มีความสัมพันธ์กันอย่างไร?
  • การลงทุน มีประเภทใดบ้าง และหน้าที่ของแต่ละประเภทคืออะไร และแต่ละแบบมีผลต่อความมั่งคั่งที่แท้จริงอย่างไร?
  • การค้าประเภทใดที่สร้างความมั่งคั่งให้กับประเทศของเรามากที่สุด? มีอัตราการคืนทุนหมุนเวียนในอัตราที่เร็วที่สุด?
  • ลำดับตามธรรมชาติของการเติบโตไปสู่ความมั่งคั่ง เป็นอย่างไร?
  • สาเหตุอะไรที่ทำให้ยุโรป มีลำดับการเติบโตไปสู่ความมั่งคั่ง แบบสวนทางกับลำดับตามธรรมชาติ?
  • หลังจักรวรรดิโรมันล่มสลาย ทำไมผลิตภาพของยุโรปถึงถดถอยเป็นอย่างมาก?
  • ประวัติศาสตร์อย่างย่อ เกี่ยวกับช่วงรอยต่อระหว่างยุคจักรวรรดิโรมันกำลังล่มสลายกับยุคกลางตอนต้น (Late Antiquity)
  • ประวัติศาสตร์อย่างย่อ เกี่ยวกับราชอาณาจักรฟรังเกีย หรือเรียกอีกชื่อหนึ่งคือ ราชอาณาจักรแฟรงก์ตะวันตก (West Francia)
  • ประวัติศาสตร์ เกี่ยวกับยุคกลางตอนกลาง (High Middle Ages), ยุคปลายสมัยกลาง (Late Middle Ages), และยุคยุโรปสมัยใหม่ตอนต้น (Early Modern Europe)
  • เศรษฐกิจแบบเงินตราที่รุ่งเรืองขึ้นมาช่วงปลายยุคกลาง มีความสำคัญอย่างไร?
  • ระบบพาณิชย์นิยม การนำไปใช้ ศักยภาพและข้อจำกัดของมัน?
  • เครื่องมือของระบบพาณิชย์นิยม?
  • มือที่มองไม่เห็น (invisible hand)? (อยู่ในเล่มที่ 4 บทที่ 2)
  • ถ้าเราถูกต่างชาติกีดกันการค้า เราควรตอบโต้ทางการค้าไหม?
  • วิวัฒนาการของธนาคารแห่งอัมสเตอร์ดัม (Bank of Amsterdam) และการแปลงแร่เงินแร่ทอง เป็นเงินกระดาษ
  • การอุดหนุนจากภาครัฐ เป็นการกระทำที่สมเหตุสมผลหรือไม่?
  • พ่อค้าคนกลาง มีความสำคัญอย่างไร?
  • สาเหตุที่อาณานิคมมักจะเติบโตในอัตราที่รวดเร็วมาก ๆ?
  • นโยบายการตั้งอาณานิคม มีความสมเหตุสมผลหรือไม่?
  • ประวัติศาสตร์การออกเดินทางไปสำรวจโลกใหม่ ของสเปน และโปรตุเกส
  • ประวัติการเดินทางของโคลัมบัส
  • โคลัมบัสสื่อสารกับชนพื้นเมืองอย่างไร และตีความเรื่องบันทึกของมาร์โค โปโลกับสิ่งที่เห็นด้วยตา ว่าสรุปแล้วเขาอยู่ที่ไหน
  • ประวัติการเดินทางของวัชกู ดา กามาไปยังอีสต์อินดีส
  • ทำไมการล่าอาณานิคมในทวีปอเมริกา จึงทำให้ชาวยุโรปสามารถไปตั้งถิ่นฐานได้ง่ายกว่า การล่าอาณานิคมในทวีปแอฟริกา, อนุทวีปอินเดีย, และทวีปเอเชีย
  • มุมมองของบริเตนใหญ่ในศตวรรษที่ 18 ในฐานะรัฐที่มีอำนาจมากที่สุดในโลก ต่ออาณานิคมอเมริกาและอีสต์อิสดีส
  • สงครามปฏิวัติอเมริกา (American Revolutionary War) และทางออกของบริเตนใหญ่ในการสมานฉันท์กับอาณานิคมอเมริกา
  • ผลประโยชน์ของผู้ปกครองประเทศ วิ่งไปในทิศทางเดียวกันกับ ผลประโยชน์ของสังคมใช่ไหม?
  • ถ้าพ่อค้ามาปกครองประเทศจะส่งผลอย่างไร? ผลประโยชน์ของพวกเขาวิ่งไปในทิศทางเดียวกันหรือสวนทางกันกับผลประโยชน์ของสังคม?
    • ตัวอย่างเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นจริง จากการปกครองของ บริษัทอินเดียตะวันออกของอังกฤษ และบริษัทอินเดียตะวันออกของดัชต์ เทียบกับ รัฐบาลที่ปกครองประเทศอังกฤษ และรัฐบาลที่ปกครองประเทศเนเธอร์แลนด์
  • ระบบเกษตรนิยม การนำไปใช้ ศักยภาพและข้อจำกัดของมัน?
  • ความชื่นชมของอดัม สมิธ (Adam Smith) ที่มีต่อฟรังซัวส์ เควสเนย์ (François Quesnay)
  • เมื่อมองภาพรวม จะเห็นถึงนโยบายที่แตกต่างของ 3 ชาติ
    • เนเธอร์แลนด์ ที่การค้าเกือบจะเสรีที่สุด ทั้งการค้าในประเทศ และการค้ากับต่างประเทศ ผลออกมาเป็นอย่างไร และพวกเขามีรูปแบบรัฐบาลเป็นอย่างไร
    • ฝรั่งเศส ที่มีการควบคุมการค้า ทั้งการค้าในประเทศ และการค้ากับต่างประเทศ อย่างเข้มงวด ผลออกมาเป็นอย่างไร และพวกเขามีรูปแบบรัฐบาลเป็นอย่างไร
    • อังกฤษ ที่มีลักษณะเป็นลูกผสม กล่าวคือ การค้าในประเทศมีความเสรี แต่การค้ากับต่างประเทศถูกควบคุมอย่างเข้มงวด ผลออกมาเป็นอย่างไร และพวกเขามีรูปแบบรัฐบาลเป็นอย่างไร
  • เมื่อมองภาพรวม จะเห็นถึงระบบเศรษฐกิจการเมือง (Political economy) ที่มีการอภิปรายกันในยุคนั้น
    • ระบบพาณิชย์นิยม (Mercantile system (Mercantilism))
    • ระบบเกษตรนิยม (Agriculture system (Physiocracy))
    • ระบบเสรีนิยม (Liberal system)
  • หน้าที่ของรัฐ
    • การป้องกันประเทศ ทำไมถึงมีความสำคัญมาก ๆ มากกว่าที่คนทั่วไปมักจะเข้าใจกัน
      • ความสำคัญของกองทัพ
      • การคานอำนาจระหว่างประเทศ
      • การรวมศูนย์อำนาจระดับหนึ่ง เพื่อทำให้สามารถบังคับใช้กฎหมายได้
      • ทำไมในยุคสมัยใหม่ ชาติที่มั่งคั่งถึงเป็นชาติที่สามารถป้องกันตัวเองได้ดีกว่าชาติที่ยากจน
    • ระบบยุติธรรม
      • ระบบความยุติธรรม มีความสำคัญมากขนาดไหน?
      • ความสำคัญของระบบกรรมสิทธิ์ในทรัพย์สิน
      • พัฒนาการของระบบกรรมสิทธิในทรัพย์สิน ในสังคมแต่ละยุคแต่ละสมัย
    • สินค้าสาธารณะชนิดอื่น ๆ
      • เส้นทางคมนาคมทางน้ำ (ท่าเรือ, แม่น้ำ, คูคลอง) และทางบก (ถนน, สะพาน) ระบบประปา ระบบส่องสว่างตามท้องถนน
      • การตั้งสถานทูต เกิดขึ้นมาได้อย่างไร?
      • การตั้ง fort ตามอาณานิคม เกิดขึ้นมาได้อย่างไร? และในการตั้ง fort นี้ ใครควรจ่ายเงิน ภาษีของประชาชน หรือ บริษัทต้องจ่ายเอง?
      • ห้างหุ้นส่วน กับ บริษัทร่วมหุ้น มีความแตกต่างกันอย่างไร?
      • ประวัติอันยืดยาว ของบริษัทสมาคมพ่อค้า, บริษัทร่วมหุ้น ที่รัฐบาลอังกฤษให้การสนับสนุนและเอื้อประโยชน์ต่าง ๆ ให้ และชะตากรรมสุดท้ายของบริษัทเหล่านี้
      • ความย้อนแย้งเรื่องผลประโยชน์ส่วนตนของผู้บริหาร กับ ผลประโยชน์ส่วนตนของเจ้าของทุน
      • และจากความย้อนแย้งในเรื่องของผลประโยชน์ที่ว่ามานี้
        บริษัทร่วมหุ้นในธุรกิจประเภทใด ที่ถือว่ามีความสมเหตุสมผลที่จะมาระดมทุนในตลาดหุ้น, ดำเนินงานในลักษณะบริษัทร่วมหุ้น, และมีแนวโน้มที่จะอยู่รอดต่อไปได้ในระยะยาวโดยไม่เจ๊งไปเสียก่อนในรอบ 100 ปี?
      • การศึกษาของประชาชน
      • ความสัมพันธ์ทางอำนาจ ของผู้ปกครองประเทศ กับ ผู้นำศาสนา โดยธรรมชาติแล้ว พวกเขามีผลประโยชน์ไปในทิศทางเดียวกัน หรือ ผลประโยชน์สวนทางกัน? และผู้ปกครองประเทศมีตัวเลือกในการใช้นโยบายแบบใดบ้าง?
  • การเก็บภาษี
    • นโยบายการเก็บภาษีที่ดี
    • ทำไมกำไรของพ่อค้านั้น เราถึงไม่สามารถเก็บภาษีได้โดยตรง?
    • ทำไมการเก็บภาษีกับนายทุนนั้น จึงไม่สามารถเก็บได้มากกว่าอัตราธรรมชาติ ที่มีการเก็บภาษีกันในต่างประเทศได้?
    • ทำไมค่าเช่าจำพวกทำเลทอง (ground rent) ที่เจ้าของที่ดินซึ่งอยู่ในสถานะผู้ผูกขาด ได้รับค่าเช่าที่สูงกว่าอัตราธรรมชาติมาอย่างง่าย ๆ โดยที่เขาไม่ต้องไปทำอะไรนั้น จึงเป็นสิ่งที่น่าไปเก็บภาษีในอัตราสูง ๆ เป็นอย่างมาก?
    • ภาษีมรดก
    • ระบบคลังสินค้าทัณฑ์บน ประโยชน์และประสิทธิภาพของมัน
    • ทำไมประเทศฝรั่งเศส ที่มีจำนวนประชากรมากกว่า ที่ดินก็มีจำนวนมากกว่า มีทุนสะสมในสังคม สภาพอากาศและทรัพยากรธรรมชาติก็ดีกว่าอังกฤษ เมื่อดูอัตราการจ่ายภาษีต่อหัวแล้ว กลับเก็บภาษีได้น้อยกว่าอังกฤษ?
      • ระบบการเก็บภาษีของฝรั่งเศส มีความเลวร้ายอย่างไร?
  • หนี้ของรัฐมีผลต่อความมั่งคั่งที่แท้จริงอย่างไร?
  • ฯลฯ อีกมากมายที่ไม่สามารถเขียนหมดได้ในที่นี้
หนังสือ The Wealth of Nations นี้ ประกอบไปด้วยหนังสือ 5 เล่ม



เล่มที่ 1 "การแบ่งงานกันทำ สร้างความมั่งคั่งขึ้นมาให้กับตนเองและสังคมได้อย่างไร"
จะพูดถึงอะไรคือสิ่งที่สร้างความมั่งคั่ง, แรงจูงใจของมนุษย์, การแลกเปลี่ยนสินค้านำไปสู่การสร้างความมั่งคั่งได้อย่างไร, กลไกอุปสงค์-อุปทาน, องค์ประกอบย่อย ๆ ต่าง ๆ ที่มีบทบาทในระบบเศรษฐกิจอันได้แก่ แรงงาน, นายทุน, เจ้าของที่ดิน มีกลไกในการทำงานอย่างไร แต่ละชนชั้นเหล่านี้มีบทบาทอย่างไร และผลประโยชน์ส่วนตนของพวกเขา กับ ผลประโยชน์ของสังคม วิ่งไปในทิศทางเดียวกันหรือสวนทางกัน?



เล่มที่ 2 "ธรรมชาติของทุนชนิดต่าง ๆ, วิธีการสะสมทุน และการจัดสรรการลงทุนรูปแบบต่าง ๆ"
ในเล่มที่ 2 นี้ คือ จะพูดถึง "ตัวระบบเสรีนิยม" หรือเรียกอีกนัยหนึ่งคือ "ระบบทุนนิยม" ว่ามันทำงานอย่างไร โดยจะเริ่มจากการพูดถึงทุนในมุมมองของปัจเจกบุคคล กับ ทุนในมุมมองของสังคม ว่ามีทุนประเภทใดบ้าง และทุนเหล่านี้มีธรรมชาติในการเคลื่อนไหวอย่างไร, ระบบธนาคารในศตวรรษที่ 18 การใช้เงินโลหะมีค่ากับการใช้เงินกระดาษในยุคนั้น, แรงงานผลิตและแรงงานไม่ผลิต (การมองประวัติศาสตร์ผ่านมุมมองแบบบัญชี ว่าเราสามารถจัดกลุ่มแรงงานประเภทต่าง ๆ ในสังคมในยุคหนึ่ง ๆ ได้ว่า ส่วนไหนอยู่ใน "COGS หรือ COS" และส่วนไหนอยู่ใน "operating expenses" (หรือพูดอีกนัยหนึ่งคือ แบบไหนถูกจัดเป็น "above the line" และแบบไหนถูกจัดเป็น "below the line")), ทุนประเภทเงินกู้, การลงทุนมีหลายชนิด ซึ่งแต่ละชนิดก็จะมีอัตราการหมุนเวียนของทุนที่ช้าเร็วแตกต่างกันไป, มีอัตราการขับเคลื่อนแรงงานผลิตที่แตกต่างกันไป มันจะมีผลต่อความมั่งคั่งของชาติมากน้อยเพียงใด?


เล่มที่ 3 "การกำเนิด และรุ่งเรืองของระบบพาณิชย์นิยม"
จะพูดถึงลำดับธรรมชาติ ของการเติบโตไปสู่ความมั่งคั่งในสภาวะปกติ, แต่ทำไมยุโรปหลังยุคจักรวรรดิโรมันล่มสลาย (จากรัฐรวมศูนย์ เข้าสู่สภาวะอนาธิปไตย) ถึงเติบโตแบบสวนทางกับลำดับธรรมชาติ โดยอดัม สมิธจะปูพื้นโดยการเล่าถึงประวัติศาสตร์อย่างย่อของยุคกลางตอนต้น ตอนช่วงจักรวรรดิโรมันตะวันตกกำลังล่มสลาย ยาวไปจนถึงช่วงราชอาณาจักรฟรังเกียตะวันตก (West Francia) (โดยเฉพาะช่วงปลายราชวงศ์การอแล็งเฌียง (Carolingian Dynasty) ที่ยังคงมีการใช้ประเพณีโบราณอย่าง ประเพณีการแบ่งที่ดินให้กับทายาทในจำนวนที่เท่า ๆ กัน (partible inheritance) (ไม่มีเสถียรภาพ เกิดสงครามกลางเมืองบ่อย) กับ ช่วงต้นราชวงศ์กาเปเซียง (Capetian dynasty) ที่มีพัฒนาการ มีการนำประเพณีการมอบที่ดินส่วนใหญ่ให้กับบุตรหัวปีเท่านั้น (primogeniture) และประเพณี entail มาใช้ (ประเพณี entail กำหนดไว้ว่า เจ้าของที่ดินผืนใหญ่ สามารถให้ผู้อื่นยืมที่ดินของตนไปใช้ประโยชน์ได้ ผู้ยืมสามารถสืบทอดที่ดินผืนนั้นไปให้ทายาทได้ แต่ไม่สามารถนำที่ดินผืนนี้ไปขายหรือโอนให้คนอื่นได้ และเมื่อไหร่ก็ตามที่ผู้ยืมหมดสิ้นทายาทสืบสายสกุลแล้ว ที่ดินจะต้องถูกดึงกลับไปเป็นของเจ้าของที่ดินผืนใหญ่เหมือนเดิม)) จากนั้นจะเล่าถึงประวัติศาสตร์ในยุคกลางตอนกลาง (High Middle Ages) แบบค่อนข้างละเอียด ว่าทำไมแรงงานในชนบทถูกลดชั้นลงจากเสรีชน กลายเป็นชาวนาทาสแทน รวมไปถึงวิวัฒนาการของสถาบันในเขตชนบทที่มีผลต่อแรงงานในอุตสาหกรรมชนบท ในทางกลับกัน ทำไมแรงงานในตัวเมืองถึงกลายเป็นเสรีชนได้เร็วกว่าแรงงานในชนบท วิวัฒนาการของสถาบันในเขตตัวเมืองมีผลต่อแรงงานในอุตสาหกรรมในตัวเมืองอย่างไร (เช่น ระบบ Medieval communes ที่เหล่าชาวเมืองสาบานจะปกป้องซึ่งกันและกันจากการรังแกของขุนนาง (ถ้าอ่านหนังสือประวัติศาสตร์ยุโรป นี่คือระบบตาต่อตาฟันต่อฟัน ถ้าขุนนางมารังแกชาวเมือง กลุ่มชาวเมืองติดอาวุธก็จะตามไปล้างแค้นขุนนาง ถ้าขุนนางหลบอยู่ในปราสาททำให้ชาวเมืองเข้าไปล้างแค้นไม่ได้ กลุ่มชาวเมืองติดอาวุธก็จะแก้แค้นโดยการเบนเป้าไปที่เหล่าบริวารของขุนนาง (vassal) แทน)) ทำไมในยุโรปการค้าขายของชาวเมือง ถึงมีความได้เปรียบกว่าการเพาะปลูกในเขตชนบท และระบบเศรษฐกิจแบบเงินตราที่เจริญรุ่งเรืองขึ้นมามีบทบาทอย่างไรในช่วงปลายยุคกลางนี้



เล่มที่ 4 "นโยบายของระบบพาณิชย์นิยม และข้อโต้แย้ง"
จะพูดถึงระบบพาณิชย์นิยม, เครื่องมือของระบบพาณิชย์นิยม ศักยภาพและข้อจำกัดของมัน (เนื้อหายาวเกือบทั้งเล่ม 4) และบทสุดท้ายจะพูดถึงระบบเกษตรนิยม ศักยภาพและข้อจำกัดของมัน
เล่มที่ 1-4 จะเกี่ยวข้องกับรายได้ของประชาชน
เล่มที่ 5 จะเกี่ยวข้องกับรายได้ของรัฐ



เล่มที่ 5 "หน้าที่ของรัฐ, นโยบายในการเก็บภาษีที่ดี, ผลของการก่อหนี้ของรัฐเกินตัว"
จะพูดถึงบทบาทที่สำคัญ ๆ ของรัฐ (อันได้แก่ การป้องกันประเทศ, ระบบยุติธรรม, การสร้างสินค้าสาธารณะ), นโยบายที่ควรจะใช้, นโยบายการเก็บภาษี, และการก่อหนี้เกินตัวของรัฐมีผลต่อความมั่งคั่งของชาติอย่างไร

สำหรับผู้อ่านทุกเพศทุกวัย ที่มีความสนใจเกี่ยวกับแนวคิดที่เป็นรากฐานของเศรษฐศาสตร์ วิวัฒนาการต่าง ๆ ของประวัติศาสตร์ และประวัติความเป็นมาของกลไกต่าง ๆ ที่เกิดขึ้นตั้งแต่ในยุคโบราณ ที่ยังคงนำมาใช้กันอยู่จนถึงยุคปัจจุบัน
รวมไปถึงผู้อ่าน ที่ต้องการรู้ถึงแนวคิดต่าง ๆ ซึ่งเป็นเบื้องหลัง ที่มีอิทธิพลในการตัดสินใจในการทำธุรกิจของบุคคลที่มีชื่อเสียงหลาย ๆ ท่าน เพื่อที่จะนำหลักการพื้นฐานเหล่านั้นมาประยุกต์ใช้ให้เหมาะสมกับตัวเอง ไม่ควรพลาดเป็นอย่างยิ่ง!!!

หนังสือ ความมั่งคั่งของประชาชาติ (The Wealth of Nations)
เล่มที่ 1 ฉบับแปลไทย
ISBN-13: 9786164138742
มีวางจำหน่ายแล้วในร้านหนังสือซีเอ็ด (SE-ED),
เสียงทิพย์บุ๊คเซ็นเตอร์,
ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยราชภัฏยะลา,
ศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยเชียงใหม่,
Asia BooksKinokuniya, ShopAt24

e-book (PDF, ePUB ต้องอ่านบนเว็บหรือแอพ Google Play Books เท่านั้น)
มีวางจำหน่ายบน Google Play
Link


หนังสือ ความมั่งคั่งของประชาชาติ (The Wealth of Nations)
เล่มที่ 2 - 3 ฉบับแปลไทย
ISBN-13: 9786164297029
มีวางจำหน่ายแล้วในร้านหนังสือซีเอ็ด (SE-ED),
เสียงทิพย์บุ๊คเซ็นเตอร์,
ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัยศูนย์หนังสือมหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์,
Asia BooksKinokuniya, ShopAt24

e-book (PDF, ePUB ต้องอ่านบนเว็บหรือแอพ Google Play Books เท่านั้น)
มีวางจำหน่ายบน Google Play
Link


หนังสือ ความมั่งคั่งของประชาชาติ (The Wealth of Nations)
เล่มที่ 4 ฉบับแปลไทย
ISBN-13: 9786164553132
มีวางจำหน่ายแล้วในร้านหนังสือซีเอ็ด (SE-ED),
ผ่านฟ้าบุ๊คเซนเตอร์, ร้านนายอินทร์,
ศูนย์หนังสือแห่งจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย,
Kinokuniya, ShopAt24

e-book (PDF, ePUB ต้องอ่านบนเว็บหรือแอพ Google Play Books เท่านั้น)
มีวางจำหน่ายบน Google Play วันที่ 12 เมษายน 2561
Link

ตัวอย่างภายในหนังสือ กดดูได้จากลิงก์ด้านล่างนี้

คำคมของอดัม สมิธ ที่ยกมาจากภายในหนังสือ (Adam Smith Quotes)
ตัวอย่างเล่มที่ 1
ตัวอย่างเล่มที่ 2-3
ตัวอย่างเล่มที่ 4

Demikianlah artikel yang berjudul หนังสือ ความมั่งคั่งของประชาชาติ แปลไทย (The Wealth of Nations Thai Translation)

Terima kasih telah membaca artikel หนังสือ ความมั่งคั่งของประชาชาติ แปลไทย (The Wealth of Nations Thai Translation), semoga dapat memberi manfaat untuk sahabat semua. Akhir kata, sampai jumpa di postingan artikel lainnya. Wassalamu'alaikum Warohmatullahi Wabarokatuh.

Sahabat telah membaca artikel berjudul หนังสือ ความมั่งคั่งของประชาชาติ แปลไทย (The Wealth of Nations Thai Translation) dengan alamat link https://wirasnews.blogspot.com/2016/08/wealth-of-nations-thai-translation.html
Advertisement