หกล้มในผู้สูงอายุ ความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม

หกล้มในผู้สูงอายุ ความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม - Assalamu'alaikum sahabat WirasNews di manapun berada. Selamat datang di blog pribadi ini. Oke, artikel yang sedang sahabat baca saat ini berjudul หกล้มในผู้สูงอายุ ความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม, artikel ini ditulis dengan penuh perasaan, dan semoga sahabat semua dapat memahami informasi yang disajikan di dalamnya. Oh iya, kata kunci untuk memahami isi artikel ini adalah Fall prevention, Safety, selamat membaca.
Judul : หกล้มในผู้สูงอายุ ความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม
link : หกล้มในผู้สูงอายุ ความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม


หกล้มในผู้สูงอายุ ความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม

Wet and Slippery Warning Sign
Photo by h0us3s (CC0 1.0)


คำเตือน อย่าลืมอ่าน เงื่อนไข การใช้บริการเยี่ยมชมบล็อก ด้วยนะ
เจ้าของบล็อกไม่ใช่แพทย์ หรือ ผู้เชียวชาญใด ๆ
แต่เนื่องจากแม่ของเจ้าของบล็อก ก็พึ่งลื่นล้มมาไม่นานเหมือนกัน
เจ้าของบล็อกเลยสนใจเรื่องนี้ขึ้นมา
เลยอยากจะมาแชร์ให้ฟัง


อุบัติเหตุอย่างนึงที่อันตรายมากสำหรับผู้สูงอายุ คือ "การหกล้ม"

โดยจุดยอดนิยมที่มักจะล้มกันคือ "ลื่นล้มในห้องน้ำ" กับ "ตกบันได"

ปัจจัยที่เกี่ยวข้องมีหลายอย่างตั้งแต่

การเปลี่ยนแปลงในร่างกายของผู้สูงอายุ

ผู้สูงอายุ มีความเปลี่ยนแปลงของร่างกายหลายอย่าง เช่น

  • สายตาไม่ดี ทำให้มองทางไม่สะดวก
  • กล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกไม่แข็งแรง + ประสาทเริ่มตอบสนองช้า ทำให้การตอบสนองของร่างกายเวลาจะล้มช้า (ถ้าเป็นหนุ่มสาว จะชักขายันทัน แต่ถ้าเป็นผู้สูงอายุ จะชักขาไม่ทัน)
  • กระดูกเปราะ โดนกระแทกไม่มากก็หักแล้ว (ข้อนี้ผู้หญิงเสี่ยงเยอะหน่อย)
  • ผู้สูงอายุ มักจะมีโรคประจำตัวเยอะ ยาบางตัวอาจทำให้ง่วงนอนหรือมึนงงได้ ทำให้เพิ่มความเสี่ยงได้เช่นกัน

ตัวบ้าน

  • บ้านในเมืองไทย ไม่ได้ถูกออกแบบตามหลักอารยสถาปัตย์ (Universal Design)
    ทำให้มีความเสี่ยงที่จะล้มได้ง่าย (ลองนับดูว่าที่บ้านเรา มีพื้นต่างระดับกี่จุด พื้นเป็นลวดลายหลอกตาไหม มีอะไรยื่น ๆ ออกมาจากพื้นหรือไม่ และแต่ละอย่างผู้สูงอายุใช้งานสะดวกไหม)
  • มีของวางเกะกะทางเดินเต็มไปหมด สายไฟที่วางยาวอยู่ที่พื้น ทำให้ผู้สูงอายุเสี่ยงที่จะสะดุดหกล้ม
  • ไม่มีราวบันได หรือ มีเพียงแค่ข้างเดียว ซ้ำร้ายอาจจะมีพรมตรงข้างล่างสุด ซึ่งเป็นจุดเสี่ยงที่จะล้มได้เหมือนกัน
  • แสงสว่างไม่เพียงพอ


พฤติกรรมที่เสี่ยงของตัวผู้สูงอายุเอง

  • บางคนที่เคยชินกับการเดินลงบันไดมาเข้าห้องน้ำมืด ๆ ทำเป็นนิสัยมา 80 ปีแล้ว แล้วมาพลาดตอนปีที่ 81
  • รองเท้าแตะ เป็นรองเท้าที่ลื่นมาก ๆ ไม่ควรใส่ แต่หลายคนก็ชอบใส่ รองเท้าที่ดีควรมีดอกยางดี ๆ เวลาเจอน้ำแล้วไม่ลื่น
  • มีราวบันได แต่ไม่ชอบจับราว

อันตรายของการหกล้ม

เหตุผลที่การหกล้มอันตรายก็เพราะ

  • แบบหนักมาก
    • เสี่ยงศีรษะกระแทกพื้น ทำให้เสี่ยงที่จะมีเลือดคั่งในสมอง (บางทีคนอายุเยอะ ๆ สมองเหี่ยว กว่าเลือดจะคั่งจนออกอาการ ต้องเฝ้าดูอาการไปหลายวันเหมือนกัน ว่าจะซึมลงหรือเปล่า)
    • กระดูกสันหลังได้รับบาดเจ็บ เช่น หักเยอะ ทำให้ไขสันหลังบาดเจ็บไปด้วย เสี่ยงที่จะเป็นอัมพาต (กระดูกผู้สูงอายุยิ่งไม่ค่อยดีอยู่ หักง่าย)
  • แบบหนัก
    • กระดูกขาหัก
      ซึ่งคนที่อายุเยอะ ๆ กล้ามเนื้อมักจะไม่ค่อยแข็งแรง เคลื่อนไหวน้อยอยู่แล้ว
      เมื่อมาเจออุบัติเหตุแล้วกระดูกหัก ยิ่งทำให้ไม่ได้เคลื่อนไหวเข้าไปอีก
      ทำให้เสี่ยงต่อการที่จะต้องนอนติดเตียง และเจอภาวะแทรกซ้อนต่าง ๆ มากมาย ทำให้ติดเตียงถาวร
    • กระดูกสันหลังทรุด ในกรณีที่ล้มก้นจ้ำเบ้า ทำให้ปวดหลังเรื้อรังตามมา
  • คนที่เคยล้มมาก่อน จะกลัวการหกล้มมาก ยิ่งทำให้ไม่ทำกิจกรรมอะไรเลย ส่งผลให้กล้ามเนื้ออ่อนแรงกว่าเดิม และเสี่ยงล้มยิ่งกว่าเดิม (วงจรอุบาทว์)
ที่จริงยังมีอันตรายอื่น ๆ อีกมากมาย แต่อันนี้ยกมาแต่ที่หนัก ๆ


วันนี้เจ้าของบล็อกจะมาแชร์วิธีป้องกันผู้สูงอายุล้มกัน (เท่าที่หาได้ และ ประยุกต์ใช้เองอยู่นะ)

วิธีป้องกันผู้สูงอายุหกล้ม

ปรับปรุงบ้าน

สายไฟ, ของที่วางเกะกะที่พื้น หรือ ขวางทางเดินเก็บขึ้นให้หมด

มีผู้สูงอายุหลายคน สะดุดหกล้มเพราะของเล่นหลาน ๆ ที่วางกองที่พื้นมาแล้ว

พื้นต่างระดับ ทำให้เห็นชัดเจนหน่อย

Caution strip
Photo by Arvin61r58 (CC0 1.0)

หลายครั้ง พื้นต่างระดับ จุดสูง กับจุดต่ำ เป็นสีเดียวกันเลย
แม้ว่าเราจะเดินอยู่ทุกวันจนคุ้นชิน
แต่ก็มีพลาดได้เหมือนกัน
เราสามารถหาซื้อเทปกาวสีแดง
หรือ เทปลายเหลืองพาดดำมาแปะตรงขอบไว้ เพื่อทำให้ผู้สูงอายุ ตระหนักว่ามีพื้นต่างระดับข้างหน้า จะได้ระวังตัวได้ดีขึ้น

ราวจับตรงพื้นต่างระดับและจุดเสี่ยงที่จะล้ม

ถ้าสังเกตดูดี ๆ จากอุบัติเหตุหลาย ๆ ครั้ง ส่วนใหญ่มักจะเกิดตรงพื้นต่างระดับ และ จุดที่มีน้ำนองที่พื้น
เราควรจะติดตั้งราวจับเอาไว้ ณ จุดนั้นเลย

น้ำยากันลื่น

น้ำยาพวกนี้ หาซื้อได้ที่ HomePro วิธีใช้ไม่ยาก
เทน้ำยาลงบนฟองน้ำ แล้วถูวน ๆๆ ไปเรื่อย ๆ จนครบกำหนดเวลา (ตามที่ข้างขวดบอกไว้)
น้ำยาพวกนี้จะตกผลึกขนาดเล็ก ๆ ทำให้พื้นห้องน้ำ หรือจุดเสี่ยงที่จะลื่นล้ม สากขึ้นมาพอสมควร
แต่น้ำยาพวกนี้ ทำให้ความแวววาวของพื้นหมองลงไป อ่านข้างขวดเช็คกันเองดี ๆ ก่อนนะ

น้ำยาพวกนี้ต้องคอยลงซ้ำทุก ๆ ปี เพราะความสากจะลดลงไปเรื่อย ๆ ตามการเวลา และ ตามการขัดห้องน้ำของเรา

แถบกันลื่น

anti-slip tapes

แถบพวกนี้ มีทั้งแบบเป็นเทปยาว หรือ เป็นแผ่นแปะสี่เหลี่ยม
ข้อดีคือ อยู่ทนกว่าน้ำยากันลื่นมาก
ส่วนข้อเสียคือ บางครั้งก็แปะไม่อยู่ หรือใช้ ๆ ไปเผยอ ทำให้เทปเป็นสาเหตุของการลื่นเองอีกต่างหาก (ลอกยากมากนะเทปพวกนี้เวลาใช้ไปนาน ๆ)

พรมยางกันลื่น

อันนี้ก็ใช้ได้
แต่ต้องคอยดูแล อย่าให้ตะไคร่น้ำ ขึ้นที่ใต้พรม
ไม่งั้นจะกลายเป็นพรมยางสุดลื่นไปแทน

เก้าอี้อาบน้ำ

shower chairs

ผู้สูงอายุหลายคน มีปัญหากล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกไม่ดี
ทำให้เวลายืนขาเดียวแล้วจะล้ม
วิธีแก้ก็คือ ใช้เก้าอี้อาบน้ำแทน เพื่อลดความเสี่ยงที่จะล้ม

ปาดน้ำทิ้งทุกครั้ง

3M Scotch-Brite Floor Squeegee3M Scotch-Brite Floor Squeegee

3M Scotch-Brite Floor Squeegee


ถ้าบ้านเรา ใช้ห้องน้ำร่วมกันกับผู้สูงอายุ
หลังอาบน้ำ ถ้าเราใช้ที่ปาดน้ำ จะดีมาก
เหตุผลคือ
  • น้ำที่นองอยู่ที่พื้น เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้คนที่เข้าห้องน้ำคนถัดไปลื่นล้ม
  • น้ำที่นองอยู่ที่พื้น เป็นน้ำที่ผสมกับคราบสบู่ พอน้ำแห้งไป จะทำให้คราบสบู่ติดพื้น และทำให้พื้นลื่นมากกว่าเดิม
ถ้าเราปาดน้ำออกหลังเข้าห้องน้ำกัน จะช่วยทำให้คราบสบู่ไม่สะสมตัวเร็วมาก และลดความเสี่ยงที่จะลื่นล้มด้วย

ไม้ปาดน้ำแบบนี้น้ำหนักเบา ใช้ง่าย
หาซื้อได้ตาม Makro ของยี่ห้อ 3M (ใช้ดีนะ)

หมั่นขัดพื้นเป็นประจำ ลดคราบสบู่

3M Scotch-Brite Floor Scrubber
ห้องน้ำเมื่อใช้ ๆ ไป จะมีคราบสบู่ คราบแชมพู สะสมที่พื้นมาก
การหมั่นขัดห้องน้ำเป็นประจำ ช่วยลดความเสี่ยงที่จะลื่นจากสาเหตุเหล่านี้ได้

พรมเช็ดเท้าที่วางตรงบันได

เลิกใช้ไปเลย เพราะเสี่ยงที่จะลื่นมาก
แต่ถ้าคิดจะใช้จริง ๆ อาจจะต้องหาเทปหนามเตย มาติดยึดเอาไว้กับพื้น

น้ำหก

ต้องเช็ดทันที การปล่อยน้ำนองไว้ที่พื้น เสี่ยงมากที่จะทำให้ผู้สูงอายุในบ้านล้ม

แสงสว่าง

ข้อนี้เป็นหนึ่งในปัจจัยที่สำคัญ 
ควรมีไฟส่องทางเปิดไว้ตลอดคืนที่ห้องนอน, ห้องน้ำ, โถงทางเดิน (เปิดแบบให้พอเห็นทาง ไม่ได้ส่องไปที่เตียงนอนนะ)

ตรงหัวนอน ควรมีโคมไฟไว้ด้วย เผื่อต้องลุกขึ้นกลางดึก จะได้เดินอย่างปลอดภัย

ตรงบันได
ควรเปิดไฟ เวลาขึ้นลงบันไดทุกครั้ง และหลอดไฟควรสว่างเพียงพอด้วย

ไฟฉายก็ควรมีไว้ด้วยเผื่อไฟดับ

เหตุผลคือ ระบบการทรงตัวของร่างกายนั้น
สมองจะประมวลผลผ่านประสาทสัมผัส
ตา ระบบทรงตัวในหู การรับสัมผัสของผิวหนังและข้อต่อต่าง ๆ
ถ้าแสงไม่เพียงพอหรือมืด มันจะตัดข้อมูลที่รับรู้ทางตา ทำให้การทรงท่ายากขึ้น โอกาสหกล้มก็จะสูงขึ้น
(ในคนที่แข็งแรง สามารถทดสอบเรื่องนี้ได้ง่าย ๆ โดยให้เราลองยืนท่ากระต่ายขาเดียวแบบลืมตา เปรียบเทียบกับ ยืนท่ากระต่ายขาเดียวแบบหลับตา เราจะพบว่า การหลับตาจะทำให้การทรงท่ายากขึ้นมาก (ระวังหกล้มตอนทดสอบด้วย))



ปรับปรุงร่างกาย

เช็คสายตาเป็นประจำ

Glasses
Photo by hatalar205 (CC0 1.0)

ข้อนี้ เห็นได้ชัดเจนเลย เนื่องจากสายตาผู้สูงอายุจะไม่ค่อยดี มองอะไรไม่ชัด การได้เช็คสายตาแล้วตัดแว่นตาให้เหมาะสม จะช่วยลดความเสี่ยงที่จะหกล้ม จากข้อนี้ลงได้

ออกกำลังกาย

การออกกำลังกายในผู้สูงอายุ ควรเป็นการออกกำลังที่มีการลงน้ำหนักที่กระดูกขา เช่น เดิน, รำไท้เก็ก, ยกลูกน้ำหนัก เพื่อชะลออัตราพรุนของกระดูก

นอกจากนี้ ผู้สูงอายุมักจะมีปัญหากล้ามเนื้อรอบข้อสะโพกและต้นขาอ่อนแรง
จึงควรออกกำลังกายกล้ามเนื้อเหล่านี้ Gluteus mediusGluteus maximusQuadriceps
(ควรปรึกษาแพทย์ก่อนที่จะเริ่มต้นออกกำลังกายเอง เพราะคนที่เคยผ่าตัด หรือ มีโรคประจำตัวบางอย่าง ก็ไม่เหมาะที่จะทำ)

การออกกำลังที่ถูกต้องทำให้ขาแข็งแรง, ทรงตัวดีขึ้น และทำให้กระดูกเสื่อมช้าลงด้วย

ตรวจภาวะกระดูกพรุนกับแพทย์

ถ้าพบกับภาวะกระดูกพรุน แล้วเป็นเยอะ ๆ แพทย์มียาที่จะชะลอได้ระดับนึง
เวลาล้ม โอกาสที่กระดูกหักจะได้ลดลง

ใช้ชีวิตให้ช้าลง

ผู้สูงอายุ ไม่ควรทำอะไรเร็ว ๆ เนื่องจากระบบปรับความดันในร่างกายไม่ดี
เวลาจะลุกจากนอนมานั่ง ต้องลุกช้า ๆ จากนั่งไปยืน ก็ต้องช้า ๆ
เพื่อป้องกันอาการหน้ามืดเวลาลุก ซึ่งทำให้เสี่ยงต่อเดินไป 2 ก้าวแล้ววูบล้ม

ไม้เท้าช่วยได้

การที่ทรงตัวไม่ดี เพิ่มความเสี่ยงที่จะทำให้ผู้สูงอายุล้ม
การใช้เครื่องช่วยเดินเช่น ไม้เท้า, ไม้สี่ขา (Walker) ช่วยลดความเสี่ยงที่ผู้สูงอายุจะล้มได้
แต่อย่างไรก็ตาม ต้องเลือกใช้ให้เหมาะสมในผู้สูงอายุแต่ละคนไป (แต่ละคนมีสภาวะร่างกายไม่เหมือนกัน)


ถ้าใครมีไอเดียอื่น ๆ ที่สามารถป้องกันผู้สูงอายุหกล้มที่บ้าน
สามารถแชร์ความเห็นที่คอมเมนต์ข้างล่างได้นะ

Demikianlah artikel yang berjudul หกล้มในผู้สูงอายุ ความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม

Terima kasih telah membaca artikel หกล้มในผู้สูงอายุ ความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม, semoga dapat memberi manfaat untuk sahabat semua. Akhir kata, sampai jumpa di postingan artikel lainnya. Wassalamu'alaikum Warohmatullahi Wabarokatuh.

Sahabat telah membaca artikel berjudul หกล้มในผู้สูงอายุ ความเสี่ยงที่ไม่ควรมองข้าม dengan alamat link https://wirasnews.blogspot.com/2015/01/blog-post.html
Advertisement