ทิปการวิ่งมินิมาราธอน 10K (10 กิโลเมตร)

ทิปการวิ่งมินิมาราธอน 10K (10 กิโลเมตร) - Assalamu'alaikum sahabat WirasNews di manapun berada. Selamat datang di blog pribadi ini. Oke, artikel yang sedang sahabat baca saat ini berjudul ทิปการวิ่งมินิมาราธอน 10K (10 กิโลเมตร), artikel ini ditulis dengan penuh perasaan, dan semoga sahabat semua dapat memahami informasi yang disajikan di dalamnya. Oh iya, kata kunci untuk memahami isi artikel ini adalah Mini marathon, Running, มินิมาราธอน, วิ่ง, selamat membaca.
Judul : ทิปการวิ่งมินิมาราธอน 10K (10 กิโลเมตร)
link : ทิปการวิ่งมินิมาราธอน 10K (10 กิโลเมตร)


ทิปการวิ่งมินิมาราธอน 10K (10 กิโลเมตร)

Running man
Photo by bipinmobile (CC0 1.0)
คงปฎิเสธไม่ได้ว่า ช่วง 2 ปีที่ผ่านมา การวิ่งรายการต่าง ๆ บูมขึ้นมามาก
วันนี้เจ้าของบล็อก จะมาแชร์เทคนิคการวิ่งมินิมาราธอนให้ฟังกัน

ก่อนอื่น เราต้องรู้จักประเภทของงานวิ่งกันก่อน


ประเภทของงานวิ่ง

งานวิ่งที่เรามักจะเห็นกันบ่อย ๆ จะมี
ฟันรัน หรือ ไมโครมาราธอน (Fun run, Micro marathon) = วิ่งราว ๆ 3-5 กิโลเมตร
มินิมาราธอน (Mini marathon) = วิ่ง 10.5 กิโลเมตร
ฮาล์ฟมาราธอน (Half marathon) = วิ่ง 21.097 กิโลเมตร
มาราธอน (Marathon) = วิ่ง 42.195 กิโลเมตร
อัลตร้า มาราธอน (Ultra marathon) = วิ่ง 100 กิโลเมตร


จำนวนเวลาที่ใช้

การวิ่ง เราควรรู้ "ความเร็วในการวิ่ง" หรือที่เรียกว่า "เพซ (Pace)" ของตัวเอง ว่าวิ่งเท่าไร
วิธีหาเพซ ทำง่าย ๆ ก็คือใช้นาฬิกาจับเวลา ดูว่าภายใน 1 กิโลเมตร เราใช้เวลาวิ่งกี่นาที (วิ่งแบบความเร็วปกติที่เราวิ่ง 10 กิโลเมตร ห้ามเร่งนะ)
ถ้าไฮเทคหน่อยก็ใช้พวกนาฬิกาสำหรับวิ่งไปเลย เช่นพวก Garmin, Runtastic, Soleus มันจะมีบอก Pace ให้เรา ณ ตอนวิ่งเลย
เราจะได้วางแผนการวิ่งได้ถูก ว่าจะวิ่งแบบไหน ขอให้จบได้ก็พอ หรือ จะทำเวลา

เมื่อเอา ความเร็วที่เราวิ่ง (Pace) คูณกับ ระยะทางของสนามที่เป็นกิโลเมตร เราก็จะพอรู้คร่าว ๆ ว่าเราน่าจะใช้เวลาเท่าไร

ถ้าวิ่งช้ามาก ต่ำกว่า Pace 7 (Pace 7-11) จะอยู่ท้ายขบวนของงานวิ่ง เวลามักไม่แน่ไม่นอน (ใจพาไปอย่างเดียว)

ถ้าวิ่งด้วยความเร็วช้า ๆ ไปเรื่อย ๆ (Pace 7 min/km) (กลุ่มมือใหม่ เพิ่งเริ่มวิ่ง อยู่แนวหลัง)
ฟันรัน (Fun run) = 21-35 นาที (ขึ้นกับระยะทางของงาน)
มินิมาราธอน (Mini marathon) =  1 ชม. 13 นาที
ฮาล์ฟมาราธอน (Half marathon) = 2 ชม. 27 นาที
มาราธอน (Marathon) = 4 ชม. 55 นาที

ถ้าวิ่งด้วยความเร็วกลาง ๆ ไปเรื่อย ๆ (Pace 6 min/km) (กลุ่มที่เริ่มวิ่งได้มาซักระยะแล้วอยู่แนวกลางส่วนหลัง)
ฟันรัน (Fun run) = 18-30 นาที
มินิมาราธอน (Mini marathon) =  1 ชม. 3 นาที
ฮาล์ฟมาราธอน (Half marathon) = 2 ชม. 6 นาที
มาราธอน (Marathon) = 4 ชม. 13 นาที

ถ้าวิ่งด้วยความเร็วกลาง ๆ ค่อนไปทางเร็ว (Pace 5 min/km) (กลุ่มที่มีประสบการณ์มาบ้าง อยู่แนวกลางส่วนหน้า)
ฟันรัน (Fun run) = 15-25 นาที
มินิมาราธอน (Mini marathon) =  52 นาที
ฮาล์ฟมาราธอน (Half marathon) = 1 ชม. 45 นาที
มาราธอน (Marathon) = 3 ชม. 31 นาที

ถ้าวิ่งด้วยความเร็ว (Pace 4 min/km) (กลุ่มแนวหน้า วิ่งชิงถ้วย)
ฟันรัน (Fun run) = 12-20 นาที
มินิมาราธอน (Mini marathon) =  42 นาที
ฮาล์ฟมาราธอน (Half marathon) = 1 ชม. 24 นาที
มาราธอน (Marathon) = 2 ชม. 48 นาที

ถ้าวิ่งด้วยความเร็วมาก (Pace 3 min/km) (กลุ่มนักวิ่งแอฟริกัน ถ้าวิ่งมาราธอนได้ความเร็วเท่านี้ไปลงโอลิมปิคได้เลย)
ฟันรัน (Fun run) = 9-15 นาที
มินิมาราธอน (Mini marathon) =  31 นาที
ฮาล์ฟมาราธอน (Half marathon) = 1 ชม. 3 นาที
มาราธอน (Marathon) = 2 ชม. 6 นาที
(สถิติโลกล่าสุดในงาน Berlin Marathon 2014 Dennis Kimetto พึ่งทำลายสถิติโลกไปด้วยเวลา 02:02:57 Pace 2.91)

บางงาน เขาจะมีกำหนดเวลาเข้าเส้นชัยขั้นต่ำเอาไว้ (เช่น งานวิ่งมาราธอนส่วนใหญ่ กำหนดไว้ ถ้าช้ากว่า 6 ชม. ถือว่า "วิ่งไม่จบ" (Do not finish (DNF))
ถ้างานฮาล์ฟมาราธอน ส่วนใหญ่ก็ 3 ชั่วโมง
ถ้างานนั้น มีชิปติดหลังเบอร์วิ่ง แล้วเราวิ่งไม่ทันเวลา
ในสถิติของเราจะขึ้นเป็น DNF

ถ้าเราวิ่งได้ Pace ราว ๆ 5, 6, 7 นาที/กิโลเมตร ก็อุ่นใจได้เลย (เลขยิ่งน้อย หมายถึง ยิ่งวิ่งเร็ว)
เพราะมีเพื่อนวิ่งที่ความเร็วนี้อีกเป็นจำนวนมาก

แต่ถ้าวิ่งช้ากว่านี้ แนะนำ ซ้อมให้ดีกว่านี้ก่อนที่จะลงงาน
เพราะถ้าวิ่งช้าเกินไป แล้วทางจราจรเขาเปิดถนนขึ้นมา
เราต้องวิ่งปนไปกับรถยนต์ และมอเตอร์ไซค์ ค่อนข้างอันตราย และรู้สึกไม่ดีเอามาก ๆ เสียด้วย
(ถ้าเป็นงานใหญ่ ๆ จะมีรถมาเก็บตก แต่จะไม่ขึ้นก็ได้นะ ขึ้นอยู่กับงาน)

ประเภทนักวิ่ง

จากประเภทของงานเหล่านี้ กลุ่มนักวิ่งก็จะไม่เหมือนกัน

ถ้าเป็นพวกฟันรัน ส่วนใหญ่จะเป็นเด็ก สตรี ผู้สูงอายุ ที่ไม่ต้องซ้อมอะไรมาก มาวิ่งสนุก ๆ และจะไม่เหนื่อยมาก ขบวนจะเคลื่อนตัวช้า (ชอบถ่ายรูปเล่นกัน) วิ่งไปจะเจอคนเกาะกลุ่มกันตลอดทาง

ถ้าเป็นมินิมาราธอน ส่วนใหญ่จะเป็นนักวิ่งหน้าใหม่ ผสมกับ นักวิ่งที่วิ่งมานานแล้ว หลากหลายมาก มีตั้งแต่นักวิ่งฟรุ้งฟริ้ง (วิ่งไป ถ่ายรูปไป) จนถึง นักวิ่งชิงถ้วย (ตะบี้ตะบันวิ่งเข้าไป) วิ่งไป เจอคนไปตลอดทาง มักจะปล่อยตัวตอน 06.00 น.

งานฮาล์ฟมาราธอน งานนี้ ส่วนใหญ่จะเป็นนักวิ่งจริง ๆ จัง ๆ ขบวนจะกระจายตัวมาก วิ่งไปซักพัก ถึงจะเจอคนข้างหน้าซักที แต่ต้องวิ่งเร็วหน่อยนะ ถ้าวิ่งฮาล์ฟช้า แล้วเขาปล่อยตัวนักวิ่งมินิมาราธอนเมื่อไร คุณแทบจะไม่มีที่วิ่งอีกเลยเพราะคนจะเยอะมากกก (ฮาล์ฟมักปล่อย 05.00 น. บางงานก็ 04.00 น. ส่วนมินิปล่อย 06.00 น.)

ส่วนมาราธอน อันนี้ไม่ต้องพูดถึง กระจายตัวกว่าฮาล์ฟมาราธอนอีก มักจะปล่อยตัวตอน 02.00 น. (เพราะเมื่อก่อนปล่อยช่วงเช้ามืด แล้วนักวิ่งบางคนวิ่งไป 6-7 ชม. (เกือบ ๆ 11.00 น.) ทำให้การจราจรติดมาก + ร้อน)


ทิปการวิ่งมินิมาราธอน

การเตรียมพร้อมร่างกาย

ควรซ้อมมาอย่างน้อย 1 เดือนขึ้นไป (ขึ้นกับความแข็งแรงของร่างกายพื้นฐาน ถ้าแข็งแรงอยู่แล้วก็ใช้เวลาน้อยหน่อย)

ถ้าอยากให้วิ่งได้ดีขึ้นเรื่อย ๆ ความเร็วดีขึ้นเรื่อย ๆ และบาดเจ็บน้อย แนะนำให้ใช้ตารางฝึก
ตารางฝึกมินิมาราธอน สามารถหาได้บนอินเตอร์เน็ต
หรือไปเข้ากลุ่ม
จะมีพี่ ๆ เพื่อน ๆ ช่วยเหลือเราได้ (ถ้าอ่านย้อนหลัง จะมีคนเคยมาถามตารางฝึกอยู่แล้ว)

ตารางจะดีกับเราตรงที่ มีการเปลี่ยนความหนักเบาที่หลากหลาย มีวันพักฟื้นร่างกาย รวมถึงวันโหดผสมกันลงไป
ถ้าเราวิ่งแบบหวานเย็นไปเรื่อย ๆ ฝึกแบบเดิม ๆ ผลลัพธ์ก็จะได้แบบเดิม ๆ (ดีขึ้น แต่ช้า)

หลักการโดยทั่วไปในการเพิ่มความเข้มข้นของการฝึก
เรามักจะใช้การเพิ่มเวลาก่อน จนกระทั่งวิ่งได้นานพอแล้ว
ค่อยเพิ่มความเร็ว แล้วลดเวลาลง
จากนั้นก็ทำซ้ำ คือ เพิ่มเวลา
การปรับไม่ควรปรับเกิน 10% เมื่อเทียบกับสัปดาห์ก่อน

ส่วนนักปั่นจักรยาน หรือ นักว่ายน้ำ ถ้าจะลงงานวิ่ง ก็ควรซ้อมเช่นกันแม้ว่าจะฟิตแค่ไหนก็ตาม
เพราะกล้ามเนื้อที่ใช้ กับ ระบบประสาทที่ควบคุม ใช้กันคนละส่วนเลย
ถ้าลงแล้วไม่ซ้อมไปก่อน รับรองว่าวิ่งไม่สนุกแน่นอน


อุปกรณ์

สิ่งที่เราต้องซื้อ

อุปกรณ์หลัก

  • กางเกงวิ่ง
  • กระเป๋าคาดเอว พร้อมเงิน
  • ถุงเท้า ถ้าวิ่งแล้วเท้าพอง ให้เลือกใช้ถุงเท้าวิ่งโดยเฉพาะ จะมีเสริมความหนาตรงเท้าบางส่วน
  • รองเท้าวิ่ง (ซ้อมมากับคู่ไหน ใช้คู่นั้น ไม่ควรใช้คู่ที่ไม่คุ้นเคยในการวิ่งจริง เพราะบางที คู่นั้นไม่เข้ากับเท้าเรา ขึ้นเป็นห้อเลือดเป็นลูก ๆ ที่เท้าหรือเล็บม่วงจะหลุดได้เลยนะ)
  • ส่วนเสื้อ งานวิ่งส่วนใหญ่ นิยมจะแจกเสื้ออยู่แล้ว (เพราะไว้ลงโลโก้ของผู้สนับสนุน) พยายามเลือกเบอร์ที่พอดีตัวที่สุด ไม่ควรสวมเสื้อตัวใหญ่เกิดไป เพราะถ้าหลวมโครก มันจะเสียดสีกับหัวนมจนเลือดออกได้ (ถ้าวิ่งระยะเวลานาน ๆ) และเลี่ยงเสื้อที่ทำจากผ้าฝ้าย
  • ถ้าวิ่งเกิน 45 นาทีขึ้นไป แนะนำ พกเจล (Energy Gel) หรือ ขนมเช่น M&M หรือ กล้วยตาก banana society ที่ห่อกล้วยตาก 1 ชิ้น กินทุก ๆ 45 นาที
  • นาฬิกา (ธรรมดา, GPS)


ก่อนวันลงสนามจริง 2 วัน

งดออกกำลังไปเลย หรือไม่ก็ออกกำลังกายเบา ๆ แทน
บางสำนัก เขาจะใช้วิธี วิ่งแรง ๆ เร็ว ๆ ไม่กี่นาที แล้วเลิกเลย

แล้วช่วง 2 วันนี้ ให้ลดสัดส่วนอาหารที่เป็นเนื้อสัตว์ กับไขมันลง
แล้วกินแป้งให้เพิ่มขึ้นแทน

วิธีนี้เขาเรียกว่า คาร์โบโหลด (Carbohydrate loading)
ถ้าทำเสร็จ น้ำหนักอาจจะขึ้นบ้าง
แต่วันวิ่งในสนามจริง จะรู้สึกกระหายน้ำน้อยลง และมีกำลังมากขึ้นมาก ๆ

ถ้าต้องวิ่งระยะทางมาก ๆ บางท่านอาจจะไปสำรวจเส้นทางก่อน เพื่อวางแผน


วันลงสนามจริง

อุปกรณ์

เตรียมเงิน, บัตรประชาชนลงกระเป๋าคาดเอวให้เรียบร้อย
พร้อมปักหมายเลข BIB ลงบนเสื้อ แบบพร้อมออกจากบ้านเลย
Armband หูฟัง เตรียมให้พร้อม

อาหาร

ถ้าไม่อยากหน้ามืด เป็นลม หรือไม่มีแรง ณ วันแข่ง ควรกินอาหารเช้า
อาหารเช้า ควรเป็นอาหารที่ไม่มีกากใย ไม่มีไฟเบอร์ ไขมันน้อย
เมนูที่ค่อนข้างดีอย่างนึงเลยคือ ขนมปังทาแยม, กล้วย, โยเกิร์ต
ให้พลังงานสูง และย่อยง่าย กากน้อย

ควรกินก่อนเวลาปล่อยตัว อย่างน้อย 2-3 ชั่วโมง ไม่อย่างนั้นเวลาวิ่งจะจุก
งานวิ่งมินิมาราธอน มักจะปล่อยตัวตอน 06.00 น.
ดังนั้นเราก็ตื่นมาราว ๆ ตี 3-4 มากินข้าว เข้าห้องน้ำให้เรียบร้อย จากนั้นก็นอน
ถ้ากินเยอะ ควรกินอย่างน้อย 3 ชั่วโมงก่อนวิ่ง
ถ้ากินกลาง ๆ กินก่อนวิ่ง 2 ชั่วโมงก็พอแล้ว
กินข้าวกินน้ำเสร็จ ก็ไปนอนต่อ (แต่งตัว แล้วตื่นให้ทันด้วยล่ะ)
เหตุผลคือ อาหารจะอยู่ในกระเพาะของเราราว ๆ 2-3 ชั่วโมง ขึ้นกับปริมาณอาหาร
ถ้าไม่อยากปวดปัสสาวะมาก ให้งดน้ำตั้งแต่ตอนนี้ไปได้เลย
ขับถ่ายให้เรียบร้อย

งานวิ่งหลาย ๆ งาน ไม่มีห้องน้ำกลางทางนะ (มีแค่ตรงจุดปล่อยตัว กับเส้นชัย)

การฝากของ

ในงาน ส่วนใหญ่มักจะมีบริการรับฝากกระเป๋าด้วย
อย่าพกสิ่งของมีค่าไว้ในเป้ (เสี่ยงเป้หาย)

ถ้าจัดงานดี รับฝากกระเป๋าจะเข้า-ออก ได้ค่อนข้างเร็ว
ถ้าจัดงานไม่ดี อาจจะช้าเป็นชั่วโมงก็ได้เลยทีเดียว

ตอนใกล้จะปล่อยตัว

15 นาทีก่อนจะถึงเวลาปล่อยตัว แนะนำให้รีบเข้าห้องน้ำ ทำธุระให้เรียบร้อย เพราะอาจจะเป็นครั้งสุดท้ายที่ได้เข้าแล้ว (ขับถ่ายให้เรียบร้อยด้วย ที่งานวิ่งต่างประเทศ เคยมีคนอุจจาระราดกลางงานมาแล้วนะ)

ช่วง 15-10 นาทีก่อนปล่อยตัว ทางเวทีเขาจะเรียกให้นักวิ่ง เข้ามา "เช็คอิน"
การเช็คอินคือ การที่เจ้าหน้าที่ เขาจะมีขีดที่ป้ายของนักวิ่ง ประมาณว่า มาเริ่มที่จุดสตาร์ทจริงนะ ไม่ใช่ไปแอบเริ่มอยู่ที่อื่น
ถ้าเป็นนักวิ่งกลุ่มแนวหน้า หรือ แนวกลางส่วนหน้า ให้รีบ ๆ ไปอยู่ด้านหน้า ๆ ของขบวน ไม่เช่นนั้นจะวิ่งช้าไปอีกหลายนาที เพราะงานวิ่งมินิคนเยอะมาก และวิ่งค่อนข้างช้าเยอะ

ส่วนนักวิ่งแนวกลางส่วนหลัง หรือหลัง ๆ แนะนำให้อยู่ด้านหลัง ๆ และอยู่ขอบซ้าย-ขวา
เพราะตรงกลาง ๆ มักจะเจอนักวิ่งเร็ว ๆ วิ่ง บางทีเขาอาจจะวิ่งชนเอาได้

เจล

ถ้าใช้เจลด้วย
ให้กินก่อนวิ่ง 15 นาที
และคอยกินทุก ๆ 45 นาที ที่เราวิ่ง
(แต่งานมินิ ไม่ต้องใช้เจลหรอก)

ตอนปล่อยตัว

เวลาเริ่มวิ่ง "ห้ามวิ่งตามคนอื่นเป็นอันขาด"
ซ้อมมาความเร็ว (Pace) เท่าไร วิ่งตามที่ซ้อม


กับดักอย่างนึงสำหรับมือใหม่เลยคือคิดว่าไหว หรือเห็นเขาวิ่งกันเร็ว ก็เลยวิ่งบ้าง แล้วดันไปวิ่งตามพวกนักวิ่งแนวหน้าเข้า
ไม่เกิน 2-3 กิโล รับรอง เดินลากแน่นอน (เจอประจำ)
นอกจากนี้ ถ้าวิ่งเกินที่ซ้อม เราก็เสี่ยงที่จะบาดเจ็บ
ซึ่งบาดเจ็บที ได้หยุดวิ่งนานพอสมควรเลยทีเดียว (กระดูกอ่อนที่เข่า ถ้าบาดเจ็บจะใช้เวลานาน บริเวณนั้นเส้นเลือดมันน้อย ต้องอาศัยแรงปั๊มน้ำในข้อ ค่อย ๆ ไปเลี้ยง ไปซ่อมแซม)
ดีไม่ดี วิ่งได้ความเร็วไม่เท่าเดิมอีกด้วย


เทคนิคนึงที่น่าสนใจคือ วิ่งแบบค่อย ๆ ไต่ความเร็วขึ้น (Negative split running)
เช่น เราวิ่งได้ Pace 6
5 กิโลเมตรแรก เราวิ่งช้า ๆ ให้น้อยกว่าที่เราเคยวิ่งได้ กรณีนี้คือ แค่ Pace 7
แล้ว 5 กิโลเมตรหลัง เราวิ่งความเร็วที่เราวิ่งได้ คือ Pace 6
วิธีนี้ จะทำให้เราไม่หมดแรงกลางทางก่อน
แล้วกิโลท้าย ๆ ค่อยไปเร่งความเร็วทีเดียวก็ได้


ระหว่างทาง ทุก ๆ 2 หรือ 2.5 กิโลเมตร จะมีจุดให้น้ำ (งานมินิ ไม่มีของกินให้กลางทาง)
ค่อย ๆ ดื่ม และไม่ต้องดื่มเยอะมาก 10 กิโลเมตร วิ่งไม่นาน จะได้ไม่จุก
บางคน 1 อึกแล้วพอเลย
ดื่มเยอะ เวลาวิ่งแล้วจะจุก
ดื่มเสร็จ ทิ้งแก้วชิดข้างทางจะได้ไม่ไปขวางนักวิ่งท่านอื่น


ตรงกลางทางมักจะมีจุดเช็คพอยท์ (Check Point) เช่น แจกยางรัดข้อมือ เพื่อกันบางคนโกง


ถ้าเจอสะพาน ทั้งขาขึ้น ขาลง
อย่าเร่งความเร็ว
เพราะมันจะกินแรงมาก และอาจจะทำให้เราจอดไปเลยก็ได้


ถ้าวิ่งช้า แล้วใช้เวลามาก แนะนำ ทุก ๆ 45 นาที กินเจล หรือพวกกล้วยตากก็ดี (แต่อย่ากินมาก จุก)
จะทำให้ขาที่หนัก รู้สึกเบาขึ้น


ระหว่างวิ่งมักจะมีช่างกล้อง ที่จะเจอมักจะมี
มาถ่ายรูปท่านตอนกลางทาง, ช่วงกิโลเมตรสุดท้ายก่อนเข้าเส้นชัย, เส้นชัย
หลังงานซัก 1-2 วัน เข้าเว็บไปหารูปของเราได้
หรือจะขอซื้อรูปใหญ่อัดกรอบ จากทางเว็บก็ได้นะ
หรืออยากเก็บความทรงจำดี ๆ ไว้ ขอซื้อไฟล์รูปต้นฉบับ (คุณภาพสูง) จากทางเว็บก็ได้เช่นกัน

เทคนิคนึงในการหารูปคือ
พยายามจำคนรอบ ๆ ตัวเราให้ได้ ช่วง กิโลเมตรสุดท้าย
เวลาหารูป จะได้หาง่าย ๆ หน่อย

อีกเทคนิคนึงคือ พยายามใส่เสื้อที่สีเตะตา
เวลาหารูปจะได้ไม่ต้องเพ่งมาก

แล้วก็อย่าลืม จำเวลาที่วิ่งด้วย ว่าใช้เวลากี่นาที
มีประโยชน์ในการหารูปเหมือนกัน


ตอนเข้าเส้นชัย เราไม่ควรไปยืนออแถว ๆ ตรงเส้นชัย เพราะจะทำให้เกิดปัญหาคอขวดได้ และทำให้นักวิ่งท่านอื่นเข้าเส้นชัยไม่ได้


หลังเส้นชัย ปกติมักจะมีซุ้มน้ำ, เกลือแร่ กับอาหารเล็ก ๆ น้อย ๆ ให้
หลังวิ่ง ควรเดิน Cool down และกินเติมน้ำตาลเข้าร่างกายด้วย ไม่งั้นเสี่ยงหน้ามืดเป็นลม

การจัดลำดับ

ถ้าในงาน มีชิปแปะอยู่ตรงหลังป้ายหมายเลข BIB
หลังงานจบ มักจะมีการจัดอันดับตาม เพศ, อายุ
และประกาศออกมาในเว็บ, Facebook ของงานนั้น ๆ
เราสามารถเข้าไปดูอันดับเราได้เลย

แต่ถ้าไม่มีชิป
ก็จะดูลำดับยากหน่อย

ถ้าในงานมีแจกเบอร์ เพื่อให้เราไปรอจับสลากต่อ เราก็จะรู้ลำดับของเราคร่าว ๆ ได้

แต่ถ้าไม่มีแจกอะไรให้เลย เราก็ไม่มีโอกาสได้รู้ลำดับของเราเลย ยกเว้นเข้าที่ 1-3




Demikianlah artikel yang berjudul ทิปการวิ่งมินิมาราธอน 10K (10 กิโลเมตร)

Terima kasih telah membaca artikel ทิปการวิ่งมินิมาราธอน 10K (10 กิโลเมตร), semoga dapat memberi manfaat untuk sahabat semua. Akhir kata, sampai jumpa di postingan artikel lainnya. Wassalamu'alaikum Warohmatullahi Wabarokatuh.

Sahabat telah membaca artikel berjudul ทิปการวิ่งมินิมาราธอน 10K (10 กิโลเมตร) dengan alamat link https://wirasnews.blogspot.com/2014/10/10k-10.html
Advertisement