มารยาทในการแชร์เลนสระว่ายน้ำ

มารยาทในการแชร์เลนสระว่ายน้ำ - Assalamu'alaikum sahabat WirasNews di manapun berada. Selamat datang di blog pribadi ini. Oke, artikel yang sedang sahabat baca saat ini berjudul มารยาทในการแชร์เลนสระว่ายน้ำ, artikel ini ditulis dengan penuh perasaan, dan semoga sahabat semua dapat memahami informasi yang disajikan di dalamnya. Oh iya, kata kunci untuk memahami isi artikel ini adalah Etiquette, Lap Swimming Etiquette, Swimming, มารยาท, ว่ายน้ำ, selamat membaca.
Judul : มารยาทในการแชร์เลนสระว่ายน้ำ
link : มารยาทในการแชร์เลนสระว่ายน้ำ


มารยาทในการแชร์เลนสระว่ายน้ำ

การอยู่ร่วมกัน จำเป็นต้องมีกติการ่วมกัน
การใช้สระว่ายน้ำจึงจำเป็นต้องมี มารยาทในการใช้สระว่ายน้ำ

เนื่องจากสระว่ายน้ำ มีอยู่ไม่กี่แห่ง
และเวลาคนใช้สระว่ายน้ำในวันหยุดทีนึง เลนในการว่ายแทบจะไม่พอใช้

วันนี้เจ้าของบล็อกจะมาเขียนถึง มารยาทในการแชร์เลนสระว่ายน้ำกัน

เมื่อสระว่ายน้ำคนเต็มไปหมด เราจะมีอยู่ 2-3 ตัวเลือก
  1. กลับบ้าน
  2. รอขอบสระ แล้ววอร์มร่างกายไปเรื่อย ๆ
    ที่สำคัญ ไม่ควรไปจ่อที่เลนใดเลนหนึ่ง หรือ เอาของต่าง ๆ ไปวางที่ขอบสระของเลนที่มีคนว่ายน้ำอยู่
    ลองนึกดู สมมติถ้าเราทานข้าวอยู่นอกบ้าน แล้วมีคนมายืนคร่อมโต๊ะเรา เพื่อเร่งให้เรากินเสร็จเร็ว ๆ เราก็คงรู้สึกไม่ดีเช่นกัน
  3. ขอแชร์เลนว่ายน้ำ (Share swim lane)

การขอแชร์เลน

การหาเลนที่เหมาะสม

ก่อนอื่น มองหาเลนที่ว่ายความเร็วใกล้เคียงกับเราก่อน 
เหตุผลคือ ในสระมีทั้งนักว่ายน้ำที่ว่ายเร็ว, กลาง ๆ, ช้า
  • ถ้าเราว่ายน้ำช้า และไปขอแชร์เลนกับคนที่ว่ายเร็ว
    เมื่อความเร็วไม่เท่ากันเราก็จะไปเกะกะเขาได้
  • ถ้าเราว่ายน้ำเร็ว และไปแชร์เลนกับคนที่ว่ายช้า
    เราก็จะไปทำให้คนว่ายช้าอึดอัดได้
  • แต่ถ้าเราว่ายความเร็วใกล้เคียงกัน การแชร์เลนก็จะค่อนข้างมีประสิทธิภาพที่ดี



แจ้งคนที่ว่ายอยู่ให้ทราบ

จากนั้น จุ่มมือโบกขอบสระ เพื่อให้คนที่ครองเลนอยู่ทราบ
หรือ ลงไปยืนชิดขอบเลน แล้วรอให้คนที่ครองเลนอยู่ว่ายมาแตะกำแพง แล้วเห็นว่าเราจะขอแชร์เลนด้วย
เหตุผลคือ คนที่ว่ายน้ำอยู่ ไม่มีใครคาดคิดว่า จะมีคนมาโผล่อยู่ตรงอีกริมขอบสระนึง แล้วอาจจะว่ายไปชนได้ (เกิดอุบัติเหต)
pool sharing etiquette notice host
จุ่มมือโบกขอบสระ เพื่อแจ้งเจ้าของเลนก่อน


การแชร์เลน

ถ้าคนที่ครองเลนอยู่ ยินดีที่จะแชร์เลนด้วย
ตกลงกันให้ดีก่อนว่า จะแชร์เลนแบบไหน

ที่นิยมมีอยู่สองแบบ

แบบแรก แชร์เลนแบบว่ายเป็นวงกลม (1 เลน ใช้ไดักับนักว่ายน้ำ 2 คนขึ้นไป ถ้าความเร็วในการว่ายพอ ๆ กันว่าย 5 คนยังได้เลย)

การจราจรแบบว่ายเป็นวงกลม ยึดหลักชิดขวาเข้าไว้
ถ้าเราว่ายช้า เมื่อถึงกำแพงแล้ว แล้วคนตามหลังเรามาเป็นคนว่ายเร็ว ให้หยุดรอแล้วให้คนว่ายเร็วนำไปก่อนเลย
ถ้าเราว่ายเร็ว แล้วเห็นว่าข้างหน้ามีคนว่ายช้ากระจุกตัวอยู่ รอให้กลุ่มนี้ทิ้งระยะไปก่อน แล้วเราค่อยว่ายต่อ
pool sharing etiquette sharing swim in circle
การแชร์เลนแบบว่ายเป็นวงกลม


แบบที่สอง แชร์เลนแบบครึ่ง ๆ (1 เลน ใช้ได้กับนักว่ายน้ำ 2 คนเท่านั้น)
pool sharing etiquette sharing split the lane
การแชร์เลนแบบครึ่ง ๆ


การขอแซง

ถ้าแชร์เลนแบบว่ายเป็นวงกลม แล้วความเร็วของนักว่ายน้ำไม่เท่ากัน (คนนึงว่ายเร็วมาก อีกคนว่ายช้า)

คนที่จะขอแซง ควรใช้วิธี "เคาะเท้าของคนที่อยู่ข้างหน้า"
ห้าม ดึง, ฉุด, จั๊กจี๋เท้าคนข้างหน้า

ส่วนคนที่ถูกเคาะ ห้ามหยุด (จะชนกันได้)
แต่ให้ชะลอความเร็ว และชิดขอบเลนให้มากขึ้นแทน

ถ้าคนที่ถูกเคาะ อยู่ใกล้กำแพง พอถึงกำแพงแล้ว ให้เราหยุดที่กำแพง แล้วรอให้คนที่ว่ายเร็ว แซงไปเลย


การพักเหนื่อย

เมื่อต้องการพักเหนื่อย ให้ชิดมุมไปเลย
ไม่ควรไปยืนกลางกำแพง หรือ ไปหยุดกลางสระ
เพราะอาจเกิดอุบัติเหตุได้ หรือ ไปเกะกะตอนที่นักว่ายน้ำอีกคนจะกลับตัว

ตรงกลางกำแพง เป็นจุดที่ควรทำให้โล่งที่สุด เพราะเป็นจุดที่นักว่ายน้ำ ใช้กลับตัวกัน

pool sharing etiquette sharing rest right place
รูปข้างบน คือจุดพักเหนื่อยที่เหมาะสม นั่นคือ ตามมุม
เพราะยังทำให้คนที่ว่ายอยู่กลับตัวได้ง่าย และลดโอกาสเกิดอุบัติเหตุด้วย

pool sharing etiquette sharing rest wrong place
รูปข้างบน คือจุดพักเหนื่อยที่ไม่เหมาะสม นั่นคือกลางกำแพง หรือ กลางสระ
เนื่องจากแชร์เลนกันอยู่ แล้วดันไปโผล่ตรงกลาง
บางทีคนที่ว่ายอาจจะไม่ได้สังเกต และกลับตัวแบบตีลังกาแล้วถีบกำแพง (Somersault) ทำให้เสี่ยงที่จะเกิดอุบัติเหตุได้


จังหวะการทิ้งระยะห่าง

กรณีที่ว่ายเป็นวงกลม ควรทิ้งช่วงห่างจากคนก่อนหน้าประมาณ 5-10 วินาที เพื่อไม่ให้ไปชนกันข้างหน้า


ว่ายไปมองสิ่งรอบตัวด้วย

เนื่องจากเราแชร์เลนให้กันและกัน เราต้องคอยสังเกตรอบข้าง
เพื่อไม่ให้หัวเราชนกัน


ท่าว่ายน้ำที่เหมาะสมเวลาแชร์เลน

ท่าที่เหมาะสมเวลาแชร์เลนกัน คือท่าฟรีสไตล์ (Front crawl) เท่านั้น
ลองนึกดูว่า ถ้าเจอฝ่ามือของท่าผีเสื้อ หรือ ขากบหวดเข้าไป คงไม่ค่อยจะดีเท่าไร (ใช้ว่ายตอนเลนโล่ง ๆ)


สถานที่ว่ายน้ำใช้ออกกำลัง ไม่ใช่ที่มาคุยเล่น

ถ้าคนแน่น ๆ แล้วเรามาคุยอย่างเดียว
แนะนำว่าควรขึ้นจากสระ เพราะมีคนรอต่อคิวใช้สระอยู่

หลายครั้งมากที่เจ้าของบล็อกเห็นว่ามีการครองเลนกันอย่างไม่เกิดประโยชน์กันเกิดขึ้นค่อนข้างบ่อย
โดยเฉพาะใช้คุย (ว่าย 1 รอบ คุยอีก 10 นาที)
แล้วคนที่เขารออยู่ ก็ลงไม่ได้ซักที เพราะเลนไม่ว่าง

นอกจากนี้ การเป็นมิตรกับผู้อื่นที่เราไม่รู้จัก เป็นสิ่งที่ดี
อาจจะทักกันได้ แต่อย่าลืมว่า คนส่วนใหญ่ มาใช้สระเพื่อว่ายน้ำ
ดังนั้น ไม่ควรจะคุยกันมากเวลาใช้สระ

รอให้ขึ้นจากสระก่อนแล้วค่อยคุยกันก็ได้


เพิ่มเติมเรื่องอื่น ๆ

  • เวลาลงว่ายน้ำในสระสาธารณะ ควรแต่งชุดว่ายน้ำเท่านั้น
    ไม่ควรใส่เสื้อยืดผ้าฝ้ายลงไป
    เหตุผล เจ้าของบล็อกคาดเดาว่าน่าจะเกิดจาก
    • การใส่เสื้อยืด ถ้าเกิดจมน้ำขึ้นมา เจ้าหน้าที่จะช่วยยากกว่าชุดว่ายน้ำ เพราะผ้าฝ้ายดูดน้ำดีมาก และทำให้เกิดแรงต้าน (drag) ในน้ำค่อนข้างมาก
    • น้ำในสระว่ายน้ำ ต้องคอยควบคุมค่ากรด-ด่างในสระให้ได้มาตรฐาน (pH ควรเป็นกลาง) การที่เราใส่ชุดที่ไม่ใช่ชุดว่ายน้ำ เช่น เสื้อยืดที่ทำจากผ้าฝ้าย เสื้อผ้าพวกนี้มักจะดูดน้ำขึ้นมาด้วยค่อนข้างมาก ทำให้ปริมาณน้ำในสระพร่องเร็ว (ถ้าหลาย ๆ คนใส่เสื้อยืด แล้วเข้า-ออกจากสระบ่อย ๆ น้ำพร่องแน่นอน) และการเติมน้ำเปล่า ๆ ลงไปเพิ่มเพื่อให้เต็มสระเหมือนเดิม ณ เวลาที่สระถูกใช้งาน ก็จะทำให้คลอรีน ไม่เข้มข้นพอที่จะฆ่าเชื้อโรคได้
      (ปกติช่วงพักสระ เช่น กลางคืน ทางสระเขาต้องคอยตรวจวัดให้ได้ค่า pH มาตรฐาน อยู่เป็นระยะ ๆ และต้องคอยปรับสภาพน้ำตอนช่วงพักสระ)
    • เนื่องจากในน้ำ คลอรีนค่อนข้างมาก พวกเสื้อยืดที่ใส่ลงไป น่าจะโดนคลอรีนกัดสีย้อม ทำให้สารเคมีในชุด ปนเปื้อนไปกับน้ำ แล้วเวลาว่าย น่าจะไม่ดีต่อสุขภาพโดยรวมของนักว่ายน้ำท่านอื่น ๆ (คงไม่มีใครอยากกินน้ำแดง ที่ทำขึ้นจากสีย้อมผ้า จริงไหม?)
    • เป็นระเบียบ ว่าจะมาว่ายน้ำ ก็ใส่ชุดว่ายน้ำ ที่ใช้เฉพาะว่ายน้ำเท่านั้น ถ้าทุกคนใส่เสื้อยืด ต่อไปก็จะมีคนใส่เสื้อยืดค้าง 5 วัน มาลงสระ ซึ่งไม่รู้ว่าผ่านอะไรมาบ้าง (สระว่ายน้ำที่บำบัดน้ำไม่ดี เป็นแหล่งแพร่กระจายของเชื้อโรคและไวรัสชั้นยอด)
    • เนื่องจากในสระ คลอรีนค่อนข้างสูง ใยผ้าฝ้ายน่าจะเปื่อยและหลุดเป็นยุ่ย ๆ ทำให้ไปอุดตันระบบกรองน้ำในสระ (เคยสังเกตตัวกรองเศษผ้า ในเครื่องซักผ้าไหม กระจุกแบบนั้นแหละ แต่ในสระน้ำนี่ ปริมาณเสื้อของ 20 คนขึ้นไป)
  • เวลาว่ายน้ำบ่อย ๆ ทุกวัน ทีละหลาย ๆ ชั่วโมง ปัญหาถัดไปที่อาจจะเจอคือ ฟันกร่อน เสียวฟัน

    เนื่องจากในสระที่ปรับระดับคลอรีนไม่มาตรฐาน เช่น ใส่แรงเกินไป จะทำให้น้ำมีค่าความเป็นกรดอยู่มาก เมื่อน้ำที่เป็นกรดเจอกับฟันเข้า ฟันก็จะกร่อนได้ (มักเป็บกับฟันหน้า)
    วิธีแก้ที่ดีที่สุดคือ อย่าให้น้ำเข้าปาก + เลือกสระที่ใส่คลอรีนตามมาตรฐาน + ป้องกันไปเลย ด้วยการทำฟันยางครอบแบบนักกีฬาว่ายน้ำ (Custom mouth guard)

    ส่วนวิธีแก้อื่น ๆ
    เจ้าของบล็อกเสนอว่า (ไม่ได้มีหลักฐานทางการแพทย์ยืนยันนะ แต่คาดเดาเอาจากพื้นฐานเคมีสมัยมัธยม)
    ก่อนลงสระว่ายน้ำ แปรงฟันด้วยยาสีฟันผสมฟลูออไรด์ ทิ้งยาสีฟันไว้ในปากซัก 2-3 นาที เพื่อให้ฟลูออไรด์เคลือบผิวฟันก่อน (ถ้าทิ้งไว้ไม่ถึง 2 นาทีฟลูออไรด์ยังไม่ออกฤทธิ์เท่าไรนะ) จากนั้นบ้วนฟองทิ้ง แต่ไม่ต้องบ้วนน้ำอีก (ที่อังกฤษ NHS แนะนำว่า "Spit don't rinse") หรือไม่ก็บ้วนน้ำแค่ซักครึ่งแก้วพอ


    หลังขึ้นจากว่ายน้ำเสร็จแล้ว
    น่าจะบ้วนปากด้วย ยาลดกรดชนิดน้ำแขวนตะกอน (Antacid Suspension) โดยทันที เช่น อะลัมมิลค์ (Alum milk)
    อย่าพึ่งไปแปรงฟันเชียว (ถ้าในช่องปากเป็นกรด แล้วไปแปรงฟัน เนื้อฟันจะยุ่ยได้)
    อะลัมมิลค์ น่าจะช่วยปรับค่า pH บริเวณฟันได้บ้าง ไม่มากก็น้อย
    จากนั้นเลี่ยงการใช้ฟัน 30-120 นาที เพื่อให้น้ำลายคืนแร่ธาตุกลับเข้าสู่ผิวฟัน ทำให้เคลือบฟันกลับมาแข็งแรงขึ้น

Demikianlah artikel yang berjudul มารยาทในการแชร์เลนสระว่ายน้ำ

Terima kasih telah membaca artikel มารยาทในการแชร์เลนสระว่ายน้ำ, semoga dapat memberi manfaat untuk sahabat semua. Akhir kata, sampai jumpa di postingan artikel lainnya. Wassalamu'alaikum Warohmatullahi Wabarokatuh.

Sahabat telah membaca artikel berjudul มารยาทในการแชร์เลนสระว่ายน้ำ dengan alamat link https://wirasnews.blogspot.com/2014/09/blog-post.html
Advertisement