รีวิวเครื่องชั่งน้ำหนักตัว Runtastic Libra

รีวิวเครื่องชั่งน้ำหนักตัว Runtastic Libra - Assalamu'alaikum sahabat WirasNews di manapun berada. Selamat datang di blog pribadi ini. Oke, artikel yang sedang sahabat baca saat ini berjudul รีวิวเครื่องชั่งน้ำหนักตัว Runtastic Libra, artikel ini ditulis dengan penuh perasaan, dan semoga sahabat semua dapat memahami informasi yang disajikan di dalamnya. Oh iya, kata kunci untuk memahami isi artikel ini adalah Runtastic, Runtastic Libra, selamat membaca.
Judul : รีวิวเครื่องชั่งน้ำหนักตัว Runtastic Libra
link : รีวิวเครื่องชั่งน้ำหนักตัว Runtastic Libra


รีวิวเครื่องชั่งน้ำหนักตัว Runtastic Libra

เครื่องชั่งน้ำหนัก Runtastic Libra

เครื่องชั่งน้ำหนัก Runtastic Libra

ภาพรวม

ณ ปี 2014 อะไร ๆ ก็เชื่อมต่อกับสมาร์ทโฟนหรือไม่ก็เชื่อมต่อกับอินเตอร์เน็ตไปเสียหมด (ยุค Internet of things)
ของอย่างนึงที่น่าสนใจก็คือ เครื่องชั่งน้ำหนัก

เจ้าของบล็อก สังเกตว่า เครื่องชั่งน้ำหนักรุ่นใหม่ ๆ มีความสามารถมากกว่าแค่ "ชั่งน้ำหนัก" เช่น วิเคราะห์ %ไขมันในร่างกาย, %กล้ามเนื้อในร่างกาย, %มวลกระดูก (คนละตัวกับความหนาแน่นกระดูก), %เนื้อเยื่อในร่างกาย, %น้ำในร่างกาย, อัตราการเผาผลาญพลังงาน
แต่ที่เด็ดที่สุดคือ มันเก็บข้อมูลย้อนหลังขึ้นอินเตอร์เน็ตได้ โดยเฉพาะข้อมูลน้ำหนักกับ %ไขมัน

เนื่องจากเครื่องชั่งน้ำหนักดิจิตอลของเจ้าของบล็อก อายุอานามปาเข้าไปกว่า 20 ปีแล้ว
ถึงตอนนี้ได้เวลาเปลี่ยนใหม่เสียที

ในท้องตลาดตอนนี้ เครื่องชั่งน้ำหนักที่สามารถเก็บข้อมูลขึ้นอินเตอร์เน็ตได้ ราคาอยู่ที่ราว ๆ 5,000 - 7,000 บาท มีทั้งแบบเชื่อมต่อกับมือถือผ่าน ฺBluetooth หรือเชื่อมต่อกับ Wi-Fi โดยตรง

ยี่ห้อนึงที่เจ้าของบล็อกคิดว่าสวยที่สุดคือเครื่องชั่งน้ำหนัก Runtastic Libra

Runtastic Libra Box

Runtastic คืออะไร?

ยี่ห้อ Runtastic เป็นแอพชื่อดังที่รู้จักกันดีในหมู่คนชอบออกกำลัง แล้วเก็บสถิติกัน
รวมถึงเป็น Social Media พูดง่าย ๆ ก็คือ Facebook ของคนออกกำลังกายนั่นแหละ

ชื่อว่า Runtastic เหมือนจะเป็นแค่กีฬาวิ่ง (เพราะมีคำว่า Run)
แต่ที่จริงแล้วแอพนี้เป็นแอพที่ไว้ติดตามการออกกำลังแทบจะทุกกีฬาเลย
ปัจจุบัน แอพ Runtastic รองรับหลายกีฬามาก ๆ ตั้งแต่

  • เดิน
  • วิ่งบนถนน
  • วิ่งบนสายพาน
  • ปั่นจักรยาน
  • ปั่นจักรยานเสือภูเขา
  • ปั่นจักรยานในฟิตเนส (Spinning)
  • กีฬาวีลแชร์เรซซิ่ง
  • กระโดดร่ม
  • โยคะ
  • แบตมินตัน
  • ฟุตบอล
  • บาสเกตบอล
  • ฯลฯ (ทั้งหมด 63 อย่าง)


ที่จริงแล้วตอนแรกเริ่มผู้ก่อตั้ง Runtastic ตอนแรกทำแอพสำหรับแค่กีฬาแข่งเรือ แล้วเก็บข้อมูลแข่งกัน
แต่ตลาดแคบไป เลยขยายกลุ่มมาเป็นกลุ่มคนออกกำลังทั้งหมด
จากนั้น เปิดบริษัทตอนปี 2009 (บริษัทอยู่ในประเทศออสเตรีย ข้าง ๆ ประเทศเยอรมนี)
ออกแอพ Runtastic ออกมา (Google Play, iOS)

ตอนปี 2012 ก็เริ่มขยายผลิตภัณฑ์
มีพวกอุปกรณ์ต่าง ๆ, เพลง ในแบรนด์ Runtastic ออกมาขาย
ที่เห็นในท้องตลาดตอนนี้ มีตั้งแต่
  • App ในเครือ Runtastic
    (ความเห็นส่วนตัว เจ้าของบล็อกชอบแอพ Runtastic มากกว่า Endomondo หรือพวก Runkeeper
    แอพ Runtastic จะบอก Zone ของ Heart rate ได้ แม้ว่าจะไม่เสียรายปี
    แต่ถ้าเป็น Endomondo จะไม่บอก Heart rate zone ถ้าไม่เสียรายปี)
  • เพลงในแบรนด์ Runtastic
  • ที่วัดชีพจร (Heart rate monitor) แบบสายคาดอกใช้คู่กับนาฬิกา
  • ที่วัดชีพจร (Heart rate monitor) แบบสายคาดอกใช้กับมือถือ (ผ่าน Bluetooth 4.0)
  • ที่วัดชีพจร (Heart rate monitor) แบบสายคาดอกใช้กับมือถือ (แบบใช้ตัวแปลงสัญญาณเสียบเข้ากับช่องต่อหูฟัง)
  • Armband ใส่มือถือ
  • อุปกรณ์เสริมจักรยาน
    • ไมล์วัดรอบขา
    • ที่ติดโทรศัพท์กับจักรยาน
    • ถุงมือ
    • หมวกจักรยาน, เสื้อ, เคสมือถือ, สายวัดตัว, Powerbank ฯลฯ (ต่างประเทศ)
  • เครื่องชั่งน้ำหนัก
สินค้าของ Runtastic จะมีระบบ ecosystem เป็นของตัวเอง
ทุกอย่างจะไปขึ้นข้อมูลในเว็บ Runtastic.com 
สรุปคือถ้าเป็นลูกค้าของ Runtastic อยู่แล้ว ใช้ของ Runtastic จะดีที่สุด

ต่อไปเจ้าของบล็อกจะพาไปดูเครื่องชั่งน้ำหนัก Runtastic Libra กัน

ราคา

ราคา 4,990 บาท

สถานที่ซื้อ

ซื้อได้จากเว็บ Runtastic Thailand, Runtastic Thailand (Facebook)
หรือร้าน Sports Triton (อยู่ในตัวสถานี BTS สยามเลย (ข้างใน) แถว ๆ ทางออก 5-6 นอกจากนี้ยังมีสาขาอื่น ๆ อีก)


ภายในกล่อง

Runtastic Libra After open boxRuntastic Libra manual and AAA battery.

ภายในกล่องมี
  • เครื่องชั่งน้ำหนัก Runtastic Libra 1 ชิ้น
  • ขาสวมเครื่องชั่ง สำหรับไว้วางบนพรม 4 ขา
  • ถ่านขนาด AAA 3 ก้อน
  • คู่มือ 2 เล่ม
  • เบอร์โทรสำหรับสอบถาม (ต่างประเทศ)
  • QR Code สำหรับให้ไปโหลด App "Libra"
ต้องเก็บกล่อง (กับใบเสร็จหรือพวกใบรับประกัน) ไว้ด้วย หน้ากล่องเขาเขียนเตือนเอาไว้ว่า ถ้าไม่ได้เก็บกล่อง ถือว่าจะไม่รับประกันให้

วิธีใส่ถ่าน

under Runtastic LibraRuntastic Libra open battery box

เลื่อนที่ใส่ถ่านขึ้น (ดันไปตรง ๆ ตามลูกศร ห้ามงัดขึ้นมา) ฝาจะหลุดออกมาทั้งชิ้นเลย

การใช้งาน


Libra app after create userRuntastic Libra sync button

ก่อนอื่นต้องจับคู่ตาชั่ง กับ App Libra ก่อน

ในแอพ แอพจะถามว่าเรามีตาชั่งไหม
ให้ตอบว่ามี (ช้อยส์ข้อบน)
มือถือจะเปิดบลูทูธเพื่อค้นหาตาชั่ง

ส่วนตาชั่ง ให้กดปุ่มเหนือช่องใส่ถ่าน (ในวงกลมสีแดงตามรูป)

ซักพัก ตาชั่งกับมือถือจะรู้จักกัน

จากนั้นก็สร้างผู้ใช้ Account Runtastic (ใช้ Account Facebook สมัครก็ได้)
ส่วนผู้ที่มี Account ของ Runtastic อยู่แล้ว ก็ Sign-in เข้าไปได้เลย

App จะถามว่า ส่วนใหญ่เรานั่ง ๆ นอน ๆ หรือ เคลื่อนไหวอยู่ตลอดเวลา
ให้ตอบตามจริง ไม่งั้นผลคำนวณจะไม่ค่อยตรง

จากนั้นก็ชั่งน้ำหนักครั้งแรกได้เลย (เพื่อให้เครื่องรู้จักกับตัวเราก่อน)


 ภายในแอพ

Runtastic Libra app My Overview 1Runtastic Libra app My Overview 2
 พอชั่งน้ำหนักเสร็จ เครื่องชั่งจะบอกว่าเรามี

  • น้ำหนักเท่าไร
  • %ไขมันเท่าไร
  • %มวลกล้ามเนื้อเท่าไร
  • %มวลกระดูกเท่าไร
  • %เนื้อเยื่อเท่าไร
  • %น้ำในร่างกาย
  • อัตราการเผาผลาญพลังงาน
  • ดัชนีมวลกาย (BMI)



Runtastic Libra Body Fat detailRuntastic Libra app Muscle Mass detail

กดเข้าไปดูรายละเอียดย่อยในแต่ละหัวข้อได้ จะมีบอกมาทีละตัวเลยว่าเราอยู่ในเกณฑ์หรือเปล่า


Runtastic Libra Weight GoalRuntastic Libra Weight History

นอกจากนี้ยังเก็บข้อมูลน้ำหนักย้อนหลัง และ %ไขมันในร่างกายย้อนหลังได้ด้วย (ข้อมูลจะถูกส่งขึ้นไปยังเว็บ Runtastic.com อีกที

นอกจากนี้ยังสามารถตั้งเป้าหมายได้ด้วย ว่าเราต้องการลดน้ำหนักเหลือกี่กิโลกรัม
แอพจะสร้างเส้นประ ที่เป็นเป้าหมายมาให้เราดู

แบ่งกับคนในครอบครัวใช้ได้ไหม?

Runtastic Libra Multi User (up to 8 user)
แอพสามารถสร้างผู้ใช้ได้สูงสุดถึง 8 คน
แต่ผู้ใช้ต้องมี Account Runtastic แยกกันนะ (เช่น พ่อ 1 account, แม่ 1 account, เรา 1 account, น้อง 1 account)
ใน App จะมีให้เราตั้งชื่อเล่นของแต่ละคน ที่จะไปปรากฎบนตาชั่งได้

เวลาเราขึ้นชั่งน้ำหนัก
เครื่องจะแยกเองเลยว่า คนที่ขึ้นมาคือใคร
แล้วจะขึ้นชื่อคนนั้น พร้อมกับช่างน้ำหนักไปในตัวเลย

การ Sync

เนื่องจากเครื่องชั่งตัวนี้ใช้บลูทูธในการเชื่อมต่อ ไม่ได้ใช้ไวไฟ
ตัวเครื่องชั่งจะเก็บข้อมูลการชั่งน้ำหนัก 10 ครั้งล่าสุด

ทำให้เราต้องนำไอโฟน ไปวางใกล้ ๆ ตาชั่งในระยะ 25 เมตร
แล้วกดเปิดแอพ Libra
อย่างน้อยสัปดาห์ละครั้งเพื่อเก็บข้อมูลให้ครบ

ข้อมูลในอินเตอร์เน็ตไปอยู่ที่ไหน?

Runtastic Libra in Runtastic.com

ข้อมุลทั้งหมด จะไปอยู่ที่เว็บ Runtastic.com
ซึ่งเราสามารถดูได้แค่คนเดียว (แชร์ให้คนอื่นดูไม่ได้)

นอกจากนี้ ถ้าเราใช้ MyFitnessPal อยู่
และเชื่อม Account กับ Runtastic
เวลาเราชั่งน้ำหนัก ข้อมูลจาก Runtastic จะไปโผล่ที่ MyFitnessPal.com อัตโนมัติ

หมายเหตุ

  • เครื่องชั่ง Runtastic Libra ต้องใช้คู่กับ App "Libra" ซึ่ง ณ ตอนนี้มีแต่ใน iOS เท่านั้น (พวกไอโฟน (iPhone), ไอแพด (iPad))

    ผู้ที่ใช้มือถือ, Tablet แอนดรอยด์อดใช้
    (ได้ยินข่าวลือมาว่า จะออก App Libra สำหรับ Android ในปี 2014
    แต่ตอนนี้ยังเป็นแค่ข่าวลือ)

    ถ้าไม่มีแอพ เครื่องชั่งน้ำหนักนี้ทำอะไรแทบไม่ได้เลย

    เนื่องจากเครื่องชั่งน้ำหนักตัวนี้ จะส่งข้อมูลผ่านบลูทูธ ไปยังมือถือ
    จากนั้นแอพในมือถือ จะเชื่อมต่อข้อมูลกับอินเตอร์เน็ตอีกที
  • หน้ากล่องเขาเขียนเตือน ไม่เหมาะกับสตรีมีครรภ์ และเด็ก
  • ในคู่มือเขามีเขียนเตือน ว่าห้ามใช้ในคนที่มีอุปกรณ์ทางการแพทย์ฝังอยู่ในตัว เช่น พวกเครื่องกระตุ้นหัวใจ (pacemaker)
  • มวลกระดูก (Bone mass) ตัวเลขนี้เอาไปใช้อะไรไม่ค่อยได้
    และตัวเลขนี้ไม่ใช่ความหนาแน่นกระดูก (ที่ระบุว่าเป็นกระดูกพรุนหรือไม่)
    การวัดความหนาแน่นของกระดูก ต้องไปทำที่โรงพยาบาล
    ซึ่งแพทย์จะมีวิธีการตรวจมาตรฐานในวงการแพทย์อยู่ (Gold standard)
  • %ไขมันในร่างกาย คือพวกไขมันใต้ผิวหนังหรือพวกไขมันในช่องท้อง (ไม่ใช่ไขมันในเส้นเลือดนะ คนละเรื่องเลย)

    ในเพศชาย
    หุ่นนายแบบที่มีกล้ามท้องสวย ๆ หรือ Six pack เขาจะอยู่ที่ราว ๆ 10-15%
    หุ่นล่ำ ๆ ไม่อ้วนแต่ยังไม่มีกล้ามท้อง ไขมันใต้ผิวหนัง มักจะอยู่ที่ 15-20%
    ถ้าเริ่มลงพุง ก็ 20% ขึ้นไป
    พุงพลุ้ยมาก ๆ ก็ 25% ขึ้นไป

    ส่วนเพศหญิงจะมี %ไขมันสูงกว่าเพศชาย
    ต่ำกว่า 30% หุ่นยังสวยอยู่
    มากกว่า 30% จะเริ่มฉุแล้ว
  • วิธีวัด %ไขมันในร่างกายของเครื่อง ใช้วิธีวัดจากค่ากระแสไฟฟ้า จากเท้าข้างนึง ไปยังอีกข้างนึง ผลลัพธ์ที่ได้ เครื่องจะนำไปเข้าสมการ (ผู้ผลิตแต่ละรายใช้สมการไม่เหมือนกัน)

    วิธีนี้เป็นวิธีที่ราคาถูก ง่าย แต่ไม่ค่อยแม่นเท่าไร (ส่วนใหญ่มักรายงาน %ไขมันในร่างกาย ต่ำกว่าความเป็นจริง)

    นอกจากนี้ไม่ควรวัดหลังดื่มน้ำ พึ่งทานอาหารมาใหม่ ๆ, หลังเสียน้ำมาก ๆ เช่น พึ่งไปออกกำลังกายมา

    เหตุผลง่าย ๆ เลย คือ น้ำเป็นสื่อนำกระแสไฟฟ้า (กล้ามเนื้อมีน้ำอยู่เยอะ) ไขมันเป็นฉนวนมีความต้านทานไฟฟ้ามากกว่า

    ถ้าเราดื่มน้ำมาก ๆ ก่อนวัด ไฟผ่านได้ดี
    เครื่องก็จะบอกว่า
    เรามีกล้ามเนื้อมาก (มากกว่าความเป็นจริง)
    และไขมันน้อย (น้อยกว่าความเป็นจริง) )

    แต่ถ้าเราพึ่งออกกำลังกายมา เสียเหงื่อมาก เวลาไปวัด ร่างกายนำไฟไม่ดี
    เครื่องจะบอกเราว่า
    เรามีกล้ามเนื้อน้อย (น้อยกว่าความเป็นจริง)
    และไขมันมาก (มากกว่าความเป็นจริง)

    ถ้าเราใส่นาฬิกา หรือ เครื่องประดับโลหะชิ้นโต ๆ ที่นำไฟฟ้าได้ดี ๆ เจ้าของบล็อกคาดว่า ค่าก็น่าจะเพี้ยนไปเช่นกัน

    แต่อย่างไรก็ตาม การใช้เครื่องพวกนี้ เราสามารถใช้ดูแนวโน้มได้ ว่า %ไขมันในร่างกาย เป็นขาขึ้น หรือขาลงคร่าว ๆ ได้

    เพราะถ้าไม่ใช้วิธีนี้ วิธีอื่นในการวัดก็จะยุ่งยากขึ้นมาพอสมควร เช่น วิธีวัดหาความหนาของชั้นไขมันใต้ผิวหนัง ตามส่วนต่าง ๆ แล้วดูตารางเปรียบเทียบหรือนำไปเข้าสูตรคำนวณต่อ

สรุป

ที่เจ้าของบล็อกซื้อเครื่องชั่งตัวนี้มาเพราะ
  • หน้าตาเครื่องชั่งน้ำหนักสวยมาก
  • เจ้าของบล็อกใช้แอพ Runtastic อยู่แล้ว (ใช้แบบ Gold รายปี) ซึ่งมันเชื่อมทุกอย่างอยู่ที่เว็บ Runtastic.com
  • เก็บสถิติแนวโน้มน้ำหนักย้อนหลังได้ หลายครั้งเราปล่อยตัวและไม่ได้สนใจแนวโน้มน้ำหนัก
    กว่าจะรู้ตัวอีกทีก็อ้วนฉุแล้ว
  • วัด %ไขมันในร่างกายคร่าว ๆ ได้ ทำให้เราดูแนวโน้มได้ว่าเป็นขาขึ้น หรือขาลง
ถ้าต้องให้คะแนน
เจ้าของบล็อกให้ 5/5 เลย
ชอบมาก

Demikianlah artikel yang berjudul รีวิวเครื่องชั่งน้ำหนักตัว Runtastic Libra

Terima kasih telah membaca artikel รีวิวเครื่องชั่งน้ำหนักตัว Runtastic Libra, semoga dapat memberi manfaat untuk sahabat semua. Akhir kata, sampai jumpa di postingan artikel lainnya. Wassalamu'alaikum Warohmatullahi Wabarokatuh.

Sahabat telah membaca artikel berjudul รีวิวเครื่องชั่งน้ำหนักตัว Runtastic Libra dengan alamat link https://wirasnews.blogspot.com/2014/07/runtastic-libra.html
Advertisement