แอนดรอยด์แท็บเล็ต (Android Tablet) ใช้เป็นพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic dictionary) ได้แล้ว

แอนดรอยด์แท็บเล็ต (Android Tablet) ใช้เป็นพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic dictionary) ได้แล้ว - Assalamu'alaikum sahabat WirasNews di manapun berada. Selamat datang di blog pribadi ini. Oke, artikel yang sedang sahabat baca saat ini berjudul แอนดรอยด์แท็บเล็ต (Android Tablet) ใช้เป็นพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic dictionary) ได้แล้ว, artikel ini ditulis dengan penuh perasaan, dan semoga sahabat semua dapat memahami informasi yang disajikan di dalamnya. Oh iya, kata kunci untuk memahami isi artikel ini adalah Android, Dictionary, Electronic dictionary, Google Nexus 7 (2012), Tablet, แท็บเล็ต, พจนานุกรม, แอนดรอยด์, selamat membaca.
Judul : แอนดรอยด์แท็บเล็ต (Android Tablet) ใช้เป็นพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic dictionary) ได้แล้ว
link : แอนดรอยด์แท็บเล็ต (Android Tablet) ใช้เป็นพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic dictionary) ได้แล้ว


แอนดรอยด์แท็บเล็ต (Android Tablet) ใช้เป็นพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic dictionary) ได้แล้ว

Google Nexus 7 (2012) วางบนโต๊ะไม้สีน้ำตาล
Google Nexus 7 (2012)
วันนี้ เจ้าของบล็อก จะมาพูดถึงประสบการณ์การใช้แอนดรอยด์แท็บเล็ต (Android Tablet) เทียบกับพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic dictionary)

Android Tablet รุ่นที่เจ้าของบล็อกใช้อยู่คือ Google Nexus 7 (2012)

Google Nexus 7 (2012) วางบนโต๊ะไม้สีน้ำตาล คู่กับหนังสือ Security Analysis กับ The Economics Book เล่มหนา
การอ่านหนังสือต่างประเทศเล่มหนา ๆ โดยไม่มีดิกชันนารีอิเล็กทรอนิกส์เป็นตัวช่วย ทำให้เสียเวลาในการพลิกพจนานุกรมเล่มหนา ๆ มาก

ราคา

พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ 

ราคาอยู่ที่ราว ๆ 2,000-15,000 บาท
ขึ้นกับจำนวนพจนานุกรมในเครื่อง + ฟังก์ชั่นต่าง ๆ

Nexus 7 (2012) 

ราคาอยู่ที่ราว ๆ 4,000-6,000 บาท
ขึ้นกับเนื้อที่ 8GB, 16GB, 32GB
เนื้อที่ยิ่งมากยิ่งแพง

ความเห็นส่วนตัว

ที่ราคาเท่ากัน Nexus 7 จะได้ CPU แรงกว่า
แต่ก็เปลืองแบตเตอรี่กว่าด้วย

การป้อนข้อมูล

พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ 

ป้อนข้อมูลด้วย แป้นพิมพ์ขนาดเล็ก (Physical keyboard)

Nexus 7 (2012) 

ป้อนข้อมูลด้วย คีย์บอร์ดเสมือนชนิดเดาคำได้ (gesture keyboard)
เอานิ้วลาก และขึ้นคำเลย

ความเห็นส่วนตัว

Nexus 7 ป้อนข้อมูลง่ายมาก เพราะ Swype ลากคำเอา เครื่องจะคาดเดาศัพท์ที่เราต้องการ คาดการณ์ถูกต้องประมาณ 90%
เร็วและแม่นกว่าแป้นพิมพ์ขนาดเล็กพอสมควร

ความลำเอียงของข้อมูล

เจ้าของบล็อกไม่ได้ใช้พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์รุ่นท็อป
ไม่ใช่รุ่นจอสัมผัส หรือ รุ่น Tablet
แต่เป็นรุ่นแป้นพิมพ์ธรรมดา ซื้อมาต้นปี 2012 (เจ้าของบล็อกเคยซื้อพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ มาตอนราว ๆ ปี 2000 ราคาแพงกว่านี้มาก แต่ตอนนี้เครื่องเสียไปแล้ว)

ราคาใกล้เคียงกับ Nexus 7 (2012)

ความเร็วในกระบวนการใช้งาน

เจ้าของบล็อกใช้พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ กับ Nexus 7 หาคำว่า Annotation

พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ 

พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ เปิดเครื่อง ใช้เวลา 6 วินาที เลือกดิกชันนารีข้างในเครื่องอีก 3 วินาที ใช้เวลาหา 5 วินาที (แถมเปิดทิ้ง ซักพักเครื่องจะปิดตัวเองเพื่อประหยัดแบตเตอรี่ ต้องมาโหลดใหม่ 6 วินาที)
รวมเวลาสุทธิ 14 วินาที

Nexus 7 (2012) 

Tablet Nexus 7 (2012) ใช้เวลาตั้งแต่เปิดฝาพับ กด Widget ของ Google Translate พิมพ์หาคำ และปิดฝา
รวมเวลาสุทธิ 6 วินาที

(ถ้าเปิดจอค้างเอาไว้ และ ลากหาคำศัพท์ ใช้เวลาไปถึง 2 วินาที)

ผลสรุป

Tablet เร็วกว่า 57% ส่วนต่าง 8 วินาที

พจนานุกรมที่มีในเครื่อง

พจนานุกรมอังกฤษ-อังกฤษ

พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ 

มีพจนานุกรมในเครื่อง ตั้งแต่ 4 เล่ม จนถึง 100 กว่าเล่ม (ขึ้นกับราคาที่ซื้อ ถ้าแพงมักจะมีติดมาเยอะ)
ฐานข้อมูลคำ ละเอียดมาก

Nexus 7 (2012) 

มีแอพพจนานุกรม ฟรี มากมาย
หรือ แบบเสียเงิน 
ผู้ผลิตพจนานุกรมลงมาขายเอง ราคาอยู่แถว ๆ 90-600 บาท เช่น Merriam-Webster, Oxford, Collins

ความเห็นส่วนตัว

พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ อังกฤษ-อังกฤษ กับ Tablet น่าจะไม่ค่อยแตกต่างกันมากแล้ว

พจนานุกรมอังกฤษ-ไทย

พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ 

มีพจนานุกรมในเครื่อง ตั้งแต่ 4 เล่ม จนถึง 100 กว่าเล่ม (ขึ้นกับราคาที่ซื้อ ถ้าแพงมักจะมีติดมาเยอะ)
ฐานข้อมูลคำ ละเอียดมาก

Nexus 7 (2012) 

Google Translate 
ฟรี แปลยังไม่ค่อยละเอียดมาก แต่ถ้าเทียบกับ 3 ปีก่อน ถือว่าพัฒนามาไกลมาก และดีขึ้นมาก

แอพ Dictionary อังกฤษ-ไทย ฟรี 
แอพส่วนใหญ่ใช้ฐานข้อมูลของ NECTEC, Google Translate, Wikipedia

ความเห็นส่วนตัว

พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ อังกฤษ-ไทย ที่ขายตามท้องตลาด มีฐานข้อมูลคำศัพท์ที่ดีกว่ามาก ความหมาย, รูปประโยคต่าง ๆ เหมาะกับใช้ในการศึกษาภาษามากกว่า

ส่วน Nexus 7 เหมาะกับอ่านแปลแบบไว้อ่านหนังสือไปเรื่อย ๆ หรือ มีพื้นฐานภาษาอังกฤษระดับนึงอยู่แล้ว

เพิ่มเติมเกี่ยวกับ Nexus 7 (2012)

ฝาเปิดปิดของ Nexus 7 (2012)

จุดอ่อนอย่างนึงของ Tablet Nexus 7 เวลาเอามาใช้เป็นพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ คือ การเปิดปิดฝาพับเคส ตัวฝาพับเวลาวางบนโต๊ะแล้ว หยิบจับฝายากพอสมควร
เจ้าของบล็อกเลยดัดแปลง เอา Post-it มาแปะ จะทำให้หยิบฝา เปิดปิดได้สะดวกขึ้นมาก
Google Nexus 7 (2012) ติด Post-it ลงไปที่ขอบปก ทำให้หยิบจับ เพื่อเปิดง่ายขึ้น
Post-it สีเขียว ใช้เปิด
Google Nexus 7 (2012) ติด Post-it ลงไปที่ขอบปก ทำให้หยิบจับ เพื่อปิดง่ายขึ้น
Post-it สีฟ้า ใช้ปิด

App Google Translate

ตัว Google Translate app สามารถป้อนข้อมูลเข้าไปได้ 4 วิธี
1. พิมพ์เอาตรง ๆ
พิมพ์คำศัพท์ ลง App Google Translate เพื่อให้ app แปล
พิมพ์ผ่าน SwiftKey keyboard
เจ้าของบล็อกใช้ SwiftKey พิมพ์ ประทับใจมาก เหมือนเดาใจเราได้ว่าจะพิมพ์อะไรลงไป

2. เขียนด้วยลายมือ
เขียนคำศัพท์ ลง App Google Translate เพื่อให้ app แปล
เขียนด้วยลายมือ
เหมาะกับคนที่ใช้ Tablet ที่มีปากกา Stylus มากกว่า เช่น พวก Samsung Galaxy Note 8

3. เสียง
พูดคำศัพท์ ลง App Google Translate เพื่อให้ app แปล
พูดคำศัพท์ เพื่อให้เครื่องแปล
กดรูปไมค์ และ พูด เครื่องจะแปลให้เลย
สำเนียงอังกฤษแบบไทย ๆ เครื่องก็พอฟังออกบ้าง แต่ยังถูก ๆ ผิด ๆ อยู่บ้าง

4. ถ่ายรูปหน้ากระดาษนั้น ๆ
เครื่องจะใช้เวลาโหลดและสแกนซักพัก (OCR) จากนั้น พอเราจิ้มตรงตัวหนังสือไหนในภาพที่ถ่าย จะมีคำแปลขึ้นให้เลย

ความเห็นส่วนตัว

เจ้าของบล็อกชอบแบบพิมพ์ป้อนเข้าไปมากที่สุด เร็วดี และทำให้อ่านไปได้เรื่อย ๆ

App Amazon Kindle

Google Nexus 7 (2012) Home screen with Books app
Apps อ่านหนังสือ
ใช้ซื้อหนังสือต่างประเทศมาอ่าน
ถ้าใครมีเครื่อง Kindle คงรู้จักแอพนี้ดี

จุดต่างระหว่าง ใช้เครื่อง Kindle อ่าน กับ ใช้แอพ Kindle บนเครื่อง Android Tablet
จะต่างตรงที่ เครื่อง Kindle ลงดิกชันนารีอังกฤษ-ไทยได้
ส่วน App Kindle จะเป็นดิกชันนารี อังกฤษ-อังกฤษเท่านั้น

ความเห็นส่วนตัว

เครื่อง Kindle ไม่สว่างแสบตา
พจนานุกรมยืดหยุ่นกว่า
และเครื่อง Kindle น้ำหนักเบากว่ามาก

เครื่อง Kindle เจ้าของบล็อกมีความเห็นว่า เป็นเครื่องอ่านหนังสืออิเล็กทรอนิกส์ที่ดีที่สุด ณ ตอนนี้แล้ว

App Google Play Books

Nexus 7 (2012) with Google Books Widget
Google Play Books Widget
แอพ Google Play Books นี้
ราว ๆ ปลายเดือนกันยายน 2013 พึ่งอนุญาตให้คนไทยซื้อหนังสือได้
เจ้าของบล็อกชอบแอพนี้พอสมควร
เวลาพลิกหน้า จะมี 3D Effect เหมือนเวลาเปิดหน้ากระดาษจริง ๆ เลย
และโปรแกรมเร็วมากด้วย

ข้อดี คือ
สามารถสั่งให้หนังสือ อ่านออกเสียงได้ เครื่องจะอ่านให้เราฟัง (app Amazon Kindle ทำแบบนี้ไม่ได้)

ข้อเสีย คือ 
เวลากดที่คำศัพท์ในหนังสือแล้ว จะเป็นพจนานุกรม ภาษาอังกฤษ-อังกฤษ ขึ้นมา
ถ้ากดรูปลูกโลก จะเป็นพจนานุกรม ภาษาอังกฤษ-ไทย ได้ โดยดึงความหมายจาก Google Translate มา (แต่มาแค่ความหมายเดียว)

สำหรับผู้ปกครอง

อุปกรณ์ระบบปฎิบัติการณ์แอนดรอยด์

เวลาซื้อพวกอุปกรณ์พวกนี้มา อย่างแรกเลยคือ
เราจะเห็นบุตรหลาน
ไม่เล่นเกม ก็แชท หรือ เล่นสังคมออนไลน์

แต่อุปกรณ์ Android เวอร์ชั่น 4.2.2 ขึ้นไป
สามารถตั้งค่าที่
Settings > Device > Users > Restricted profile
แล้วเลือกได้ว่า จะอนุญาตให้ใช้แอพไหนได้ แอพไหมไม่ได้
สามารถบล็อกไม่ให้เล่นเกม  แชท หรือ แอพสังคมออนไลน์ได้

นอกจากนี้ ยังป้องกันการที่เด็กไปเผลอกดซื้อแอพที่เสียเงินมา โดยที่เราไม่ตั้งใจได้ ด้วยการตั้ง Password
Google Play > Settings > User Controls > Password > Use password to restrict purchases
กันลูกหลานไปกดซื้อแอพมามั่ว ๆ และทำให้เราเสียเงิน

อุปกรณ์ระบบปฎิบัติการณ์ไมโครซอฟท์วินโดวส์

ที่จริงเครื่องคอมพิวเตอร์ระบบปฎิบัติการวินโดวส์ (Microsoft Windows) ก็สามารถตั้งค่าลักษณะนี้ได้ (ให้ลูกหลานใช้ Standard account และตั้ง Parent Control) 

ตั้งที่ Control Panels > User Accounts and Family Safety > Family Safety > เลือก Account ของลูกหลาน และตั้งค่า เช่น เวลาที่ให้ใช้งาน โปรแกรมที่อนุญาตให้ใช้บนเครื่อง 
ที่สำคัญ ห้ามให้ลูกหลานรู้ Password Admin ไม่งั้น เด็กสามารถไปแก้ค่ากลับได้

การตั้งค่าพวกนี้ ตั้งเพื่อป้องกันบุตรหลานเล่นเกม หรือ จำกัดเวลาในการเล่น เช่น อนุญาตให้เล่น 19:00-20:00 น. หลังจากนั้นเครื่องจะล็อกตัวเอง
แต่ปัญหาคือ ส่วนใหญ่ผู้ปกครองหาวิธีทำไม่เจอ หรือ ไม่ก็ไม่ได้สนใจเรื่องเหล่านี้

สรุป

หนังสือพจนานุกรมอังกฤษ-ไทย โดย เธียรชัย เอี่ยมวรเมธ วางเทียบกับไม้บรรทัด วัดได้ความหนาราว ๆ 3 นิ้ว
พจนานุกรม อังกฤษ-ไทย หนา 3 นิ้ว
จากประสบการณ์ 
ที่เคยใช้ทั้งพจนานุกรมเล่มหนา 
มาถึงยุคพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ 
มาเป็นยุคแท็บเล็ต 

เจ้าของบล็อกพบว่า แต่ละอย่างมีข้อดี ข้อเสีย แตกต่างกันออกไป

หนังสือพจนานุกรมเล่มหนา จะให้ความหมายคำ และ ตัวอย่างการนำไปใช้ (สำคัญนะ) ที่ละเอียด เหมาะกับการศึกษาภาษาอังกฤษแบบจริง ๆ จัง ๆ

พจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ ให้ความหมายคำ ที่ละเอียดพอสมควรอยู่ แต่ประหยัดเวลาเพิ่มขึ้นมาก เหมาะกับนักเรียน ที่พื้นภาษาอังกฤษยังไม่แข็ง และเวลาที่มีอยู่ค่อนข้างจำกัด

แท็บเล็ต ให้ความหมายอาจจะละเอียดน้อยสุด แต่ประหยัดเวลาสูงสุด เหมาะกับการอ่านหนังสือต่างประเทศ แบบขอให้อ่านได้จบ

การมีอย่างน้อย 2 เครื่องมือ เจ้าของบล็อกเชื่อว่า น่าจะให้ประโยชน์สูงสุด ขอแค่เราเลือกใช้ให้เหมาะกับงานก็พอ

Demikianlah artikel yang berjudul แอนดรอยด์แท็บเล็ต (Android Tablet) ใช้เป็นพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic dictionary) ได้แล้ว

Terima kasih telah membaca artikel แอนดรอยด์แท็บเล็ต (Android Tablet) ใช้เป็นพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic dictionary) ได้แล้ว, semoga dapat memberi manfaat untuk sahabat semua. Akhir kata, sampai jumpa di postingan artikel lainnya. Wassalamu'alaikum Warohmatullahi Wabarokatuh.

Sahabat telah membaca artikel berjudul แอนดรอยด์แท็บเล็ต (Android Tablet) ใช้เป็นพจนานุกรมอิเล็กทรอนิกส์ (Electronic dictionary) ได้แล้ว dengan alamat link https://wirasnews.blogspot.com/2013/12/android-tablet-electronic-dictionary.html
Advertisement