รีวิว (Review) iRobot Roomba 760 หุ่นยนต์ดูดฝุ่น
April 02, 2018
รีวิว (Review) iRobot Roomba 760 หุ่นยนต์ดูดฝุ่น - Assalamu'alaikum sahabat WirasNews di manapun berada. Selamat datang di blog pribadi ini. Oke, artikel yang sedang sahabat baca saat ini berjudul รีวิว (Review) iRobot Roomba 760 หุ่นยนต์ดูดฝุ่น, artikel ini ditulis dengan penuh perasaan, dan semoga sahabat semua dapat memahami informasi yang disajikan di dalamnya. Oh iya, kata kunci untuk memahami isi artikel ini adalah
iRobot Roomba,
หุ่นยนต์ดูดฝุ่น, selamat membaca.
Judul : รีวิว (Review) iRobot Roomba 760 หุ่นยนต์ดูดฝุ่น
link : รีวิว (Review) iRobot Roomba 760 หุ่นยนต์ดูดฝุ่น
รีวิว (Review) iRobot Roomba 760 หุ่นยนต์ดูดฝุ่น
สำหรับคนที่บ้านมีบริเวณ และต้องทำความสะอาดเองก็คงรู้ดีว่าการทำความสะอาดบ้าน ไม่ใช่งานที่สนุกซักเท่าไร และ ค่อนข้างเหนื่อยมากด้วย
ครั้งจะจ้างคน ปัจจุบัน แม่บ้านก็หายากเหลือเกิน
ถึงหาได้ จะไว้ใจได้หรือเปล่าก็ยังไม่รู้ ก็ต้องมาเสี่ยงดวงอีก
แต่ทีนี้ปัจจุบัน เทคโนโลยีต่าง ๆ ก็ดีขึ้น ในราคาที่ถูกลงเรื่อย ๆ
สิ่งที่น่าสนใจหนึ่งในนั้น นั่นก็คือ "หุ่นยนต์"
บริษัท iRobot (บริษัทผลิตหุ่นยนต์เก็บกู้วัตถุระเบิด, หุ่นยนต์สอดแนมของทหาร)
ได้ผลิตหุ่นยนต์รุมบา (Roomba) หุ่นยนต์ทำความสะอาด (ดูดฝุ่น) ออกมา สำหรับใช้ตามบ้านเรือน
ก่อนหน้านี้ ในไทยเรา ไม่มีผู้นำเข้าอย่างเป็นทางการ ทำให้หาซื้อหุ่นตัวนี้ค่อนข้างยากมาก (รวมถึงอะไหล่ด้วย)
ปัจจุบัน ร้าน dotLife นำหุ่นตัวนี้เข้ามาขาย พร้อมสามารถสั่งซื้อหุ่น รวมถึงอะไหล่ได้สะดวก
เจ้าของบล็อกจะขอมาแชร์ประสบการณ์จากการใช้หุ่นตัวนี้
ราคา
ราคาหุ่นยนต์ iRobot Roomba 760 ณ ปี 2013 = 21,900 บาท(ถ้าจ้างแม่บ้าน 12 เดือน เดือนละ 5,000 บาท = 12 x 5,000 = 60,000 บาท)
เปิดใช้ครั้งแรก
ดึงพลาสติกออกจากส่วนต่าง ๆ ตามที่คู่มือบอกชาร์จแบตเตอรี่ทิ้งไว้ทั้งคืน (16 ชั่วโมง) ก่อนใช้งานครั้งแรก (หลังจากนี้ ชาร์จตามปกติ)
อุปกรณ์ที่ติดมากับกล่อง
1. ตัวหุ่น
2. รีโมท
3. แท่นสำหรับให้หุ่นเข้าไปชาร์จตัวเอง (Home Base)
4. กล่องสร้างกำแพงเสมือน (Auto Virtual wall)
5. ที่ตัดเส้นผม และ หวี
น้ำหนักหุ่น (เฉลี่ย)
ตัวหุ่น (มีหูหิ้ว) หนักราว ๆ 3.8 กิโลกรัม
รีโมท
ถ้าเราหิ้วไม่ไหว เราสามารถ กดรีโมทให้หุ่นเดินหน้า หันซ้าย-ขวาได้ถ้าใช้รีโมท สั่งหุ่นใกล้ ๆ
- แท่นสำหรับให้หุ่นเข้าไปชาร์จตัวเอง (Home Base)
- กล่องสร้างกำแพงเสมือน (Auto Virtual wall)
รีโมทจะกดสั่งงานหุ่นไม่ได้ เพราะ คลื่นมันจะกวนกัน
วิธีใช้งาน
แบบทำความสะอาดมาตรฐาน (Clean)
แบบอัตโนมัติ
แบบนี้ต้องเสียบปลั๊กไฟของแท่นสำหรับให้หุ่นเข้าไปชาร์จตัวเอง (Home Base) ไว้ตลอดเวลา
สำหรับคนที่กลัวเรื่องฟืนไฟ รวมถึงคนที่นาน ๆ จะมาอยู่บ้านทีนึง แบบนี้อาจจะไม่เหมาะเท่าไร
หุ่นตัวนี้ สามารถตั้งวัน เวลา ที่หุ่นจะออกไปทำงานเองได้ (Clean)
สำหรับคนที่กลัวเรื่องฟืนไฟ รวมถึงคนที่นาน ๆ จะมาอยู่บ้านทีนึง แบบนี้อาจจะไม่เหมาะเท่าไร
หุ่นตัวนี้ สามารถตั้งวัน เวลา ที่หุ่นจะออกไปทำงานเองได้ (Clean)
เช่น จ พ ศ อา เวลา 17.00 น. ให้วิ่งไปดูดฝุ่น
พอดูดเสร็จ หุ่นจะกลับมาหาแท่นชาร์จเอง (กรณีห้องเล็ก)
แบบหิ้วไปปล่อยเอง
หิ้วหุ่นไปตรงที่จะทำความสะอาด แล้วกดปุ่ม "Clean"
จากนั้น คุณแม่บ้านก็ไปนอนดูทีวีได้อย่างสบายใจ
พอหุ่นดูดฝุ่นเสร็จ หุ่นจะส่งเสียงเพลงร้อง แล้วหยุดทำงานเอง
ถ้าเราไม่ได้ไปแตะต้องมัน ซักพักมันจะดับเครื่องเองอีกด้วย
(แต่จะหาไม่เจอเอาได้ เพราะบางทีเล่นไปจอดอยู่ใต้ตู้มืด ๆ
ถ้าเราไม่ได้ไปสนใจ จนหุ่นมันดับเครื่อง เราจะมองไม่เห็นไฟของหุ่นเอา ทำให้หาตัวยาก ถ้าบ้านมีพื้นที่กว้าง)
(แต่จะหาไม่เจอเอาได้ เพราะบางทีเล่นไปจอดอยู่ใต้ตู้มืด ๆ
ถ้าเราไม่ได้ไปสนใจ จนหุ่นมันดับเครื่อง เราจะมองไม่เห็นไฟของหุ่นเอา ทำให้หาตัวยาก ถ้าบ้านมีพื้นที่กว้าง)
เจ้าของบล็อกชอบแบบนี้สุด
แบบดูดเฉพาะจุด (Spot)
กดปุ่ม "Spot" แล้วหุ่นจะวิ่งวนเป็นรูปก้นหอย (วงกลมรัศมี 1 เมตร)
หมุนจากในไปนอก จากนั้นก็นอกเข้าใน (หุ่นจะดูดสะอาดเป็นพิเศษ)
หมุนจากในไปนอก จากนั้นก็นอกเข้าใน (หุ่นจะดูดสะอาดเป็นพิเศษ)
ใช้สำหรับเวลาคุณลูกทำเศษขนมแห้ง ๆ หกกระจาย, ช่างมาเจาะฝ้าแล้วฝุ่นร่วงเต็ม
เราหิ้วหุ่นมา กด "Spot" แล้วหุ่นก็เก็บกวาดไปเอง
ซักพักหุ่นเก็บกวาดเสร็จ หุ่นจะส่งเสียงเพลง บอกว่าเสร็จแล้ว
ซักพักหุ่นเก็บกวาดเสร็จ หุ่นจะส่งเสียงเพลง บอกว่าเสร็จแล้ว
หุ่นตัวนี้ วิ่งทั่วห้องไหม?
คำถามนี้ เป็นคำถามที่ทุกคนต้องถามแน่นอน
เพราะครั้งแรกที่ปล่อยหุ่นตัวนี้ไป หุ่นมันเหมือนจะเดินสุ่มแบบมั่ว ๆ เลย
และสิ่งที่ทุกคนจะทำก็คือ เฝ้าจับผิดว่า หุ่นมันจะวิ่งทั่วห้องไหม
แน่นอน ผู้ผลิตเขาคิดมาเรียบร้อยแล้วสำหรับหุ่นรุ่นนี้
การแก้ปัญหาของหุ่นคือ
- หุ่นตัวนี้จะใช้ระบบเสียง ค้นหาตำแหน่งที่ฝุ่นปรากฎอยู่หนาแน่น และก็จะวิ่งวนไปแถวนั้นบ่อย ๆ
- หุ่นตัวนี้ ใช้แนวคิดที่ว่า แมลง จะใช้วิธีแก้ปัญหาแบบง่าย ๆ ไม่กี่รูปแบบ (รุ่นนี้มี 40 รูปแบบ) ในสภาพแวดล้อมที่แตกต่างกัน
ดังนั้น หุ่นตัวนี้ จะเดินคล้าย ๆ เดินสุ่ม
แต่ถ้าถ่ายวีดีโอจับตาดูเส้นทางที่หุ่นวิ่งไป หุ่นจะเดินไปทั่วห้องทุกซอกทุกมุมและทุกบริเวณจริง ๆ
(นึกถึงเราระบายหน้ากระดาษ A4 ด้วยดินสอสีดำ ระบายไปเรื่อย ๆ อย่างมีประสิทธิภาพ จนกระดาษทั้งแผ่นกลายเป็นสีดำ)
(หุ่น Roomba รุ่นนี้จะทำความสะอาดช้ากว่าหุ่นยี่ห้ออื่น เช่น พวกรุ่นที่ทำแผนที่เส้นทางที่เคยเดินไปแล้วไว้ในหัว แต่หุ่น Roomba ทำความสะอาดทั่วถึงกว่าจริง ๆ)
หุ่นดูดสะอาดหรือเปล่า?
สิ่งต่อมาเลยคือหุ่นมันมีแรงดูดไหวเหรอ?
จากการดูกลไกของหุ่น หุ่นตัวนี้จะมีแปรงสำหรับปัดซอกมุม + แปรงใต้เครื่องสำหรับเก็บเศษผง
แล้วมีแกนยางทำหน้าที่เป็นที่ตักผง
จากนั้น หุ่นจะอาศัยแรงดูด ดูดฝุ่นจากที่ตักผงเข้าไป
บอกคำเดียวว่าสะอาดมาก
ปกติ บ้านเจ้าของบล็อก หลังจากทำความสะอาดบ้าน 2-3 วัน ผงที่แขวนลอยตามอากาศก็จะเริ่มไปเกาะตามเฟอร์นิเจอร์แล้ว
ปกติ บ้านเจ้าของบล็อก หลังจากทำความสะอาดบ้าน 2-3 วัน ผงที่แขวนลอยตามอากาศก็จะเริ่มไปเกาะตามเฟอร์นิเจอร์แล้ว
พอใช้หุ่นตัวนี้ ผงพวกนี้ปรากฎช้าลงมาก และเวลาแสงแดดส่อง ฝุ่นที่แขวนลอยหายไปเยอะมาก (ผู้ผลิตเขาว่า มี HEPA filter ติดมาเพื่อกรองอากาศด้วย (อยู่ในถังเก็บฝุ่นน่ะ) คู่มือแนะนำให้เปลี่ยนตัวกรองใหม่ทุก 2 เดือน (ขายในไทย 2 ชิ้น = 160 บาท))
พอปล่อยหุ่นไปวิ่งในบ้านครั้งแรก ยังงงเลยว่า หุ่นมันไปเก็บฝุ่นมาจากไหนเยอะแยะมาก (เต็มถังเก็บฝุ่นเลย)
หุ่น จะทำความสะอาดพื้นที่ได้ดีที่สุด ต่อเมื่อเราตีกรอบพื้นที่นั้น ๆ เป็นสี่เหลี่ยม และ ปล่อยให้หุ่นเดินไป ผู้ผลิตเขาถึงติดกล่องสร้างกำแพงเสมือน (Auto Virtual Wall) มาให้เราด้วย กล่องตัวนี้จะปล่อยคลื่นออกมาเป็นรูปตัว V
วิธีใช้กล่องสร้างกำแพงเสมือน (Auto Virtual Wall) นี้ คือ เอาไปวางหลังกำแพงดังรูปข้างล่าง กำแพงจะไปบังคลื่นบางส่วน ทำให้หุ่นไม่ข้ามเส้นสีแดงไป กำแพงเสมือนนี้ จะยาวราว ๆ 2 เมตร (ที่จริงเขาเอาไว้กั้นช่องประตูไม่ให้หุ่นข้ามห้อง)
วิธีใช้กล่องสร้างกำแพงเสมือน (Auto Virtual Wall) นี้ คือ เอาไปวางหลังกำแพงดังรูปข้างล่าง กำแพงจะไปบังคลื่นบางส่วน ทำให้หุ่นไม่ข้ามเส้นสีแดงไป กำแพงเสมือนนี้ จะยาวราว ๆ 2 เมตร (ที่จริงเขาเอาไว้กั้นช่องประตูไม่ให้หุ่นข้ามห้อง)
ปล่อยหุ่นให้ทำความสะอาดพื้นที่บริเวณแรก |
ปล่อยหุ่นให้ทำความสะอาดพื้นที่บริเวณสอง |
แต่ถ้าวางผิด หุ่นจะวิ่งแบบประหลาด ๆ เพราะสิ่งที่หุ่นเห็น คือรูปข้างล่างนี้
รูปแบบการวางกำแพงเสมือน (Auto Virtual Wall) ที่ผิด |
รอบของการทำงาน
สำหรับปุ่ม Clean
1 พื้นที่สี่เหลี่ยม ใช้เวลาเฉลี่ยราว ๆ 20 นาที - 45 นาทีถ้าสกปรกมาก หุ่นจะวิ่งค่อนข้างนาน
ถ้าสกปรกน้อย วิ่งแป๊บเดียว หุ่นจะร้องหยุดทำงานเอง
พอปล่อยหุ่นไปได้ราว ๆ 2 พื้นที่สี่เหลี่ยม (รวมเวลาประมาณ 60 - 75 นาที) ควรนำไปชาร์จทีนึง (ชาร์จ 1 รอบใช้เวลาประมาณ 1 ชั่วโมง)
ไม่งั้น เสี่ยงต่อการแบตเตอรี่ขึ้นขีดแดง หรือ แบตหมดไปเลยก็ได้ (ทำให้แบตเสื่อมเร็ว ถ้าเจ้าของบล็อกจำไม่ผิด อะไหล่แบตลูกนึง อยู่ที่ราว ๆ 3,250 บาท)
ชาร์จ 1 รอบ ทำให้หุ่นยนต์รุมบา (Roomba) ใช้งานได้ราว ๆ 90 นาที
ชาร์จ 1 รอบ ทำให้หุ่นยนต์รุมบา (Roomba) ใช้งานได้ราว ๆ 90 นาที
สำหรับปุ่ม Spot
วงกลมรัศมี 1 เมตร ใช้เวลาเฉลี่ยราว ๆ 1.25 นาที
ระบบป้องกันตัวเองของหุ่น
หุ่นมีระบบป้องกันตัวเอง เท่าที่เจ้าของบล็อกเจอมาคือ
- ระบบป้องกันของติดล้อ เวลาเจอผ้าเบา ๆ หรือ สายไฟ แล้วเข้าไปติดตรงล้อ หุ่นจะขึ้นโหมดคลายสาย (บางทีก็หลุด บางทีก็ไม่หลุด) (ถ้าเป็นพรมหนา ๆ หรือ ผ้าที่มีน้ำหนัก หุ่นเดินผ่านได้สบาย ๆ)
- ระบบป้องกันการตกขอบต่างระดับ เช่น ปล่อยหุ่น อยู่บนชั้น 2 แล้วหุ่นวิ่งไปตรงบันได พอไปถึงขอบ หุ่นจะมีเซนเซอร์ หุ่นจะวิ่งแค่ลัดขอบ แต่ไม่ตกลงไป (ทำให้เจ้าของหวาดเสียว) ถ้าเกิดหุ่นพลาดตกขอบขึ้นมาจริง ๆ (เคยเกยขอบมา 1 ครั้ง) หุ่นจะหยุดทำงาน และ ขึ้นลูกศรว่าเดินกลับไม่ได้
- ระบบเตือนแบตเตอรี่หมด หุ่นจะร้องว่าแบตอ่อนกำลัง และดับตัวเองไป
- ระบบป้องกันการถูกยก ถ้าหุ่นกำลังดูดฝุ่นอยู่ แล้วถูกเราหิ้วขึ้นมาจากพื้น ตัวหุ่นจะหยุดทำงานเองโดยอัตโนมัติ
ข้อจำกัดของหุ่น
- เวลาเจอผ้าเบา ๆ หรือ เจอสายไฟ เข้าไปติดล้อ หุ่นก็จะพยายามคลายตัวเองออก บางทีก็ออก แต่บางทีก็ไม่ออก (นาน ๆ ที)
- เวลาหุ่นไปเดินชนสายไฟที่ลอย หุ่นจะลากสายไฟนั้นไปด้วย และดึงไปไกลเลย ระวังเครื่องใช้ไฟฟ้าของท่านเสียหาย จนไฟไหม้เอาได้ (แนะนำให้เก็บพวกผ้าเบา ๆ รวมถึงสายไฟขึ้นให้เรียบร้อยก่อนปล่อยหุ่น)
- หุ่นจะรู้ว่า ข้างหน้ามีเฟอร์นิเจอร์อยู่เป็นส่วนมาก และก็จะลดความเร็วลงก่อนจะเข้าไปชน แต่ในหลาย ๆ ครั้งเจ้าของบล็อกเห็นหุ่นไม่ลดความเร็ว และพุ่งชนเฟอร์นิเจอร์เข้าไปแบบไม่แตะเบรคเลย (ไม่แรงมาก)
- ปีนบันไดไม่ได้ (คนชอบถาม)
- แท่นชาร์จอัตโนมัติ ถ้าห้องไม่ใหญ่มาก เวลาแบตเริ่มอ่อน หุ่นจะรู้ตำแหน่งแท่นชาร์จ และวิ่งกลับไปหาแท่นชาร์จเองได้
แต่ถ้าเราเอาหุ่นไปปล่อยในพื้นที่ใหญ่มาก ๆ เวลาแบตเริ่มอ่อน หุ่นจะเริ่มมองหาแท่นชาร์จ แต่วิ่งเท่าไรก็หาไม่เจอซักที (อยู่กันคนละฟากของบ้าน) - เฟอร์นิเจอร์ในบ้าน ควรแข็งแรง เพราะ บางทีหุ่นเข้าไปชน ๆ หลาย ๆ ครั้งเข้า โต๊ะญี่ปุ่นของเจ้าของบล็อกเคยถล่มลงมาทับหุ่นทีนึงแล้ว (วางของหนักไว้บนโต๊ะ ขาโต๊ะเลยไม่ดี)
- เก้าอี้ ปัญหาใหญ่ของหุ่นเลย จุดอ่อนของหุ่นคือขาเก้าอี้ ที่หุ่นมักเข้าไปแล้ว หาทางออกจากเก้าอี้ไม่ได้
กินไฟไหม?
เจ้าของบล็อก ซื้อมาราว ๆ เดือน 04/2013
จากค่าไฟเฉลี่ยปรากฎว่ายังอยู่ในค่าเฉลี่ยเดิม (แน่นอนว่าตัวแปรอื่น ๆ ถูกควบคุมอยู่ ไม่มีเครื่องใช้ไฟฟ้าใหม่ รูปแบบการใช้ไฟฟ้ายังคงเหมือนเดิม มีแค่ซื้อหุ่นดูดฝุ่นเพิ่มเข้ามาเท่านั้น)
ถึงแม้ข้อมูลจะไม่เพียงพอ (แค่ 4 เดือน) แต่เท่าที่ดูคร่าว ๆ น่าจะกินไฟไม่มาก
ค่าไฟย้อนหลัง 4 เดือน นับตั้งแต่เริ่มใช้หุ่น iRobot Roomba 760 |
การซ่อมบำรุง
การทำความสะอาดหุ่นดูดฝุ่น ค่อนข้างจะสำคัญพอสมควรเหตุผลง่าย ๆ สั้น ๆ เลยคือ
ถ้ามีเส้นผมเข้าไปพันแกนแปรง หรือ แกนยางมาก ๆ เข้า
ตัวมอเตอร์จะหมุนไม่ค่อยไป และทำให้มอเตอร์เสียได้
ดังนั้น สัปดาห์นึง ควรจะแกะออกมาทำความสะอาด 1 ครั้ง
ก่อนจะทำอะไรกับหุ่น อย่าลืมอ่าน เงื่อนไข การใช้บริการเยี่ยมชมบล็อก ด้วย
การซ่อมบำรุงที่ถูกต้องควรอ่านจากคู่มือของผู้ผลิต
อันนี้เจ้าของบล็อกเขียนให้ดูภาพรวมเฉย ๆ
ประจำวัน
ดูดฝุ่นเสร็จ ถอดที่เก็บผงออกมาเคาะฝุ่นก็พอ
ประจำสัปดาห์
ใช้เวลาประมาณ 15-20 นาที (สัปดาห์นึงทำครั้งนึงก็ใช้ได้แล้ว)
ส่วนสีเหลือง คือ ส่วนที่เราถอดออกมาทำความสะอาดเองได้
อุปกรณ์ที่ต้องมี
- ลูกยางเป่าลม (Rubber Air Blower) ซื้อได้ที่ Daiso 60 บาท (แนะนำ)
- แปรงปัดฝุ่นนุ่ม ๆ 1 แปรง
- เศษผ้าแห้ง 1 ชิ้น
สิ่งทีต้องทำ
- ถอดที่เก็บผง กับ ตัวกรอง HEPA ออกมาเคาะฝุ่น
แล้วเป่าด้วยลูกยางเป่าลม - ทำความสะอาดเส้นผมที่พันรอบแปรงขน
โดยใช้ ที่ตัดเส้นผม กับ หวี ที่ผู้ผลิตติดมาให้
(ถ้าเส้นผมพันแปรงขนมาก ๆ ทำให้มอเตอร์หมุนไม่ค่อยไป เพิ่มโอกาสมอเตอร์ทำงานหนักจนพังได้) - ทำความสะอาด แกนยาง
- เช็ดตัวหุ่นด้วยผ้าแห้ง (ผู้ผลิตเขาไม่แนะนำให้หุ่นเปียก)
- ประกอบกลับ
สรุป
เจ้าของบล็อกเคยทำงานบ้านจนเป็นโรคพังผืดกดทับเส้นประสาทข้อมือ (Carpal Tunnel Syndrome (CTS)) มือชาค่อนข้างมาก
ตอนนอนต้องใส่ที่ดามข้อมือตอนนอน (Wrist Splints) ซึ่งก็ช่วยได้บ้าง แต่ยังไม่หาย
ตั้งแต่ใช้หุ่นมา เจ้าของบล็อกเหลือแค่ปัดฝุ่นตามเฟอร์นิเจอร์ จากนั้นก็ ปล่อยหุ่นทำงานของมันไป
อาการชาที่มือดีขึ้นมาก จนตอนนี้หายไปแล้ว (แต่ยังต้องทำความสะอาดบันไดเองอยู่นะ)
สรุปคือ
เจ้าของบล็อกชอบหุ่นตัวนี้มาก ๆ หลังจากซื้อมาใช้แล้ว คุณภาพชีวิต (Quality of life) ดีขึ้นจริง ๆ
เจ้าของบล็อกชอบหุ่นตัวนี้มาก ๆ หลังจากซื้อมาใช้แล้ว คุณภาพชีวิต (Quality of life) ดีขึ้นจริง ๆ
Demikianlah artikel yang berjudul รีวิว (Review) iRobot Roomba 760 หุ่นยนต์ดูดฝุ่น
Terima kasih telah membaca artikel รีวิว (Review) iRobot Roomba 760 หุ่นยนต์ดูดฝุ่น, semoga dapat memberi manfaat untuk sahabat semua. Akhir kata, sampai jumpa di postingan artikel lainnya. Wassalamu'alaikum Warohmatullahi Wabarokatuh.
Sahabat telah membaca artikel berjudul รีวิว (Review) iRobot Roomba 760 หุ่นยนต์ดูดฝุ่น dengan alamat link https://wirasnews.blogspot.com/2013/08/review-irobot-roomba-760.html
Advertisement