การตั้งค่า Quality of Service (QoS) ใน router RT-AC66U

การตั้งค่า Quality of Service (QoS) ใน router RT-AC66U - Assalamu'alaikum sahabat WirasNews di manapun berada. Selamat datang di blog pribadi ini. Oke, artikel yang sedang sahabat baca saat ini berjudul การตั้งค่า Quality of Service (QoS) ใน router RT-AC66U, artikel ini ditulis dengan penuh perasaan, dan semoga sahabat semua dapat memahami informasi yang disajikan di dalamnya. Oh iya, kata kunci untuk memahami isi artikel ini adalah QoS, Quality of Service, Router, เราเตอร์, selamat membaca.
Judul : การตั้งค่า Quality of Service (QoS) ใน router RT-AC66U
link : การตั้งค่า Quality of Service (QoS) ใน router RT-AC66U


การตั้งค่า Quality of Service (QoS) ใน router RT-AC66U

รูปสัญญาณจราจร 4 อัน มีทั้งไม่มีไฟ ไฟเขียว ไฟเหลือง ไฟแดง
Traffic Signal by Rfc1394 (CC0 1.0)
เราเตอร์รุ่น RT-N66U, RT-AC66U
firmware จะมีฟังก์ชัน Quality of Service (QoS) ติดมาให้ด้วย

ปูพื้น (Background)

การรับ-ส่งข้อมูลในเครือข่าย มีลักษณะเหมือนถนน
ถ้ามีการรับ-ส่งข้อมูลมาก รถก็ติด แน่น ช้าไปหมด (เน็ตช้า)
ถ้ามีการรับ-ส่งข้อมูลน้อย ถนนก็โล่ง ทำอะไรก็สะดวก (เน็ตเร็ว)

แต่ทีนี้ ส่วนใหญ่ที่เราเจอกันคือ กรณีรถติด
ทีนี้การใช้ทรัพยากรที่คุ้มค่าที่สุดเวลารถติดคือ การมีคนควบคุมการจราจร
นั่นคือหน้าที่ของ QoS

QoS คือการจัดลำดับความสำคัญของประเภทข้อมูลที่ผ่านเครือข่าย
ตัวอย่างเช่น 
เล่นเกม เล่นเน็ต ความสำคัญสูง
ดาวน์โหลดบิต ดาวน์โหลดไฟล์ ความสำคัญต่ำ

อะไรที่ความสำคัญต่ำ จะใช้ถนนได้ เวลาถนนว่าง ๆ แต่ถ้ามีอะไรที่ความสำคัญสูงกว่าจะใช้ถนน ข้อมูลที่ลำดับความสำคัญต่ำกว่า จะต้องหยุดให้ข้อมูลที่มีลำดับความสำคัญสูงผ่านไปก่อน
อะไรที่ความสำคัญสูง จะเหมือนมีอภิสิทธิ ได้ใช้ถนนก่อน

เวลาเล่นเน็ต เครื่องจะส่งคำขอรับ-ส่งเว็บไปสั้น ๆ ไม่ได้กินข้อมูลต่อเนื่อง ยาวนาน
แต่เวลาดาวน์โหลดบิต ดาวน์โหลดไฟล์ พวกนี้จะกินข้อมูลต่อเนื่อง ยาวนาน

ตัวอย่าง

สมมติภายในบ้าน มีคนใช้งานเราท์เตอร์เดียวกัน 10 คน
9 คน เล่นเน็ตทั่วไป 
1 คน ดาวน์โหลดบิต

กรณีที่ไม่เปิด QoS

เน็ตจะใช้งานแทบไม่ได้เลย
เนื่องจากความสำคัญของทุกข้อมูลเท่ากัน
ถนนจะเต็มไปด้วยไฟล์ที่กำลังดาวน์โหลด
อีก 9 คนที่เล่นเน็ตทั่วไป ต้องการแค่จะเช็ค Email แป๊บเดียว ก็ไม่สามารถใช้งานได้ เพราะถนนรถติดมาก

สถานการณ์จึงเป็น Loss-Win (9 คนใช้เน็ตไม่ได้เลย ส่วนอีก 1 คนดาวน์โหลดไฟล์ได้)

กรณีเปิด QoS

ความสำคัญของข้อมูลจะไม่เท่ากัน
ถ้าเราตั้งแบบกรณีข้างบนคือ เล่นเกม เล่นเน็ต ความสำคัญสูง
ดาวน์โหลดบิต ดาวน์โหลดไฟล์ ความสำคัญต่ำ

ตอนแรก ถนนเต็มไปด้วยไฟล์ที่กำลังดาวน์โหลด
พอมีคนเล่นเน็ต
เราท์เตอร์จะมองว่า ตอนนี้มีคนใช้เน็ต ความสำคัญสูง
ชะลอดาวน์โหลตบิตก่อน (สำคัญต่ำ) ให้ข้อมูลทั่วไปผ่านก่อน (สำคัญสูง)

ทำให้สถานการณ์โดยภาพรวม 
ทุกคน Win-Win (9 คน ใช้เน็ตได้ ส่วนอีก 1 คนก็ดาวน์โหลดไฟล์ได้)

QoS เหมาะกับใคร?

QoS จะมีประโยชน์ เวลา router มีคนเชื่อมต่อหรือใช้งานหลาย ๆ คนพร้อมกัน
ถ้าพูดให้เห็นภาพก็คือ การเปิดใช้ QoS ก็เหมือนการมีจราจร คอยโบกรถ ให้การจราจรภาพรวมไม่ติดขัด
QoS จึงเหมาะกับ router ที่ถูกเชื่อมต่อโดยผู้ใช้หลาย ๆ คน
หรือมีการใช้ทรัพยากรเน็ตอยู่เกือบตลอดเวลา
เช่น พี่ชายชอบโหลด น้องสาวชอบแชททั่วไป พ่อแม่ใช้งานเว็บทั่วไป
(คิดง่าย ๆ ว่า สถานการณ์ประเภทไหนที่ต้องการจราจร ประมาณนั้น)

ถ้าเป็น router มีผู้ใช้คนเดียว
แบบนี้อาจจะปิด QoS ไปดีกว่า
ในแง่นึงเราอาจจะมอง QoS เป็นเหมือนจราจร
แต่ในทางกลับกัน มันก็มีลักษณะเหมือนเป็นคอขวด (ทุกอย่างไปกระจุกตัวกันที่เราเตอร์)
ถ้าใช้คนเดียว และไม่ได้มีการโหลดอะไรตลอดเวลา ก็ไม่ต้องเปิดโหมดนี้ก็ได้

การตั้งค่า QoS ในเราเตอร์ RT-AC66U

ไปที่ General > Traffic Manager

ผู้ผลิตเขามีแบบสำเร็จรูป (Automatic mode) กับแบบตั้งค่าเอง (user-defined QoS rules, user-defined priorities) มาให้แล้ว กดเลือกได้ที่ด้านขวาบนของจอ

แบบสำเร็จรูป (Automatic mode)

สมมติเน็ต ผู้ให้บริการบอกว่า ดาวน์โหลด 10 เมก อัพโหลด 1 เมก
แบบสำเร็จรูปตั้งค่าง่ายมากแค่ปรับ
  • QoS เป็น ON
  • Upload Bandwidth 819 Kb/s (Merlin แนะนำว่า ถ้าจะให้เสถียร ให้ตั้งค่า upload ไว้ที่ 80% ของค่าอัพโหลดสูงสุด)
  • Download Bandwidth 10 Mb/s
แบบสำเร็จรูปนี้ ให้ความสำคัญมากกับ
เล่นเว็บ รับส่งอีเมล เล่นเกม
และให้ความสำคัญน้อยกับ
การดาวน์โหลด

แบบตั้งค่าเอง (user-defined QoS rules, user-defined priorities)

ถ้าอยากไปเพิ่มอะไรเป็นพิเศษ เช่น เกมบางเกม, Facetime มาตรงนี้
user-defined QoS rules ใช้ตั้งค่า service, โปรแกรม ว่าอันไหนสำคัญมาก กลาง น้อยแค่ไหน
user-defined priorities ใช้ตั้งค่าว่า คำว่าสำคัญมาก ให้ปล่อยช่องทางแค่ไหน คำว่าสำคัญน้อย ให้ปล่อยช่องทางแค่ไหน

user-defined QoS rules

Service Name จะมีโปรแกรมให้เลือกได้เลยว่า เราจะให้ความสำคัญมากน้อย กับโปรแกรมไหน หรือพิมพ์ลงไปเองก็ได้ถ้ารู้ Port กับ Protocol
Source IP or MAC เลือกอุปกรณ์เฉพาะที่เราจะให้ความสำคัญเป็นพิเศษได้เลย
Destination Port เนื่องจากอันนี้เป็นแบบกึ่งสำเร็จรูป พอเลือก Service Name แล้ว มันจะขึ้น Port ให้เองเลย
Protocol ขึ้นเองหลังเลือก Service Name
Transferred เว้นว่างไว้ก็ได้ (ช่องนี้ใช้กำหนดโควต้าว่าจะรับส่งประมาณเท่าไร ถ้าใช้โควต้าเกิน แล้วมีตัวที่ได้ลำดับความสำคัญกว่า ต้องการใช้เส้นทาง ตัวที่ใช้โควต้าเกินจะถูกจัดเป็นความสำคัญต่ำ)
Priority เป็นลำดับความสำคัญ ว่าอันไหนสำคัญมาก-น้อย ตั้งได้เองเลย
Add/Delete กดเพื่อเพิ่มกฎ หรือ ลบกฎ ตั้งค่าเสร็จอย่าลืมกดปุ่มนี้

ตั้งเสร็จกด Apply

user-defined priorities

ตรงนี้ใช้ตั้งว่า แต่ละลำดับความสำคัญ Highest, High, Medium, Low, Lowest
จะให้ปล่อยความเร็วในแต่ละลำดับมากน้อยแค่ไหน
อันนี้ตั้งตามใจชอบเลย

Demikianlah artikel yang berjudul การตั้งค่า Quality of Service (QoS) ใน router RT-AC66U

Terima kasih telah membaca artikel การตั้งค่า Quality of Service (QoS) ใน router RT-AC66U, semoga dapat memberi manfaat untuk sahabat semua. Akhir kata, sampai jumpa di postingan artikel lainnya. Wassalamu'alaikum Warohmatullahi Wabarokatuh.

Sahabat telah membaca artikel berjudul การตั้งค่า Quality of Service (QoS) ใน router RT-AC66U dengan alamat link https://wirasnews.blogspot.com/2013/01/quality-of-service-qos-router-rt-ac66u.html
Advertisement