ไขมันทรานส์ (Trans fat)

ไขมันทรานส์ (Trans fat) - Assalamu'alaikum sahabat WirasNews di manapun berada. Selamat datang di blog pribadi ini. Oke, artikel yang sedang sahabat baca saat ini berjudul ไขมันทรานส์ (Trans fat), artikel ini ditulis dengan penuh perasaan, dan semoga sahabat semua dapat memahami informasi yang disajikan di dalamnya. Oh iya, kata kunci untuk memahami isi artikel ini adalah Fast food, Health, Trans fat, selamat membaca.
Judul : ไขมันทรานส์ (Trans fat)
link : ไขมันทรานส์ (Trans fat)


ไขมันทรานส์ (Trans fat)

ครัวซ็อง ขนมอบชุ่มเนยชนิดหนึ่ง
Photo by pitr (CC0 1.0)

ไขมันทรานส์ คือ ไขมัน ที่มีการเติมไฮโดรเจนลงไปในน้ำมันพืช เพื่อทำให้น้ำมันเสถียร กลายเป็นก้อน ไม่เหม็นหืน เช่น มาการีน, เนยเทียม

ที่เราพบ trans fat ได้มากเพราะราคาถูก เก็บได้ทน
ต้องเข้าใจก่อนว่า ประวัติศาสตร์มนุษย์เรา ไขมัน, เนย ที่ไว้ทำอาหาร เป็นสิ่งที่ค่อนข้างหาได้ยาก
ถึงหามาได้ ก็เก็บรักษาได้ไม่นาน ก็เหม็นหืนไปแล้ว
จน 100 ปีที่ผ่านมา มีคนได้พัฒนาวิธีการต่าง ๆ เพื่อยืดอายุการเก็บรักษาของผลิตภัณฑ์พวกน้ำมัน, เนย ให้เก็บได้นาน ๆ (Shelf life) จนมีคนพบวิธีการเติมไฮโดรเจนลงไป
น้ำมันที่ผ่านกระบวนการเติมไฮโดรเจน ให้กลายเป็นก้อนเนยเทียม มีอายุการเก็บได้นานมาก ซึ่งผู้ผลิตชอบ สามารถผลิตได้ทีละเยอะ ๆ เก็บได้นาน ๆ ราคาจึงถูก
พอราคาถูก ก็เลยเป็นที่นิยมไปทุกที่ ตั้งแต่ร้านอาหารข้างทาง, ภัตตาคาร, ในบ้าน
(สมัยก่อน คนมักจะเสียชีวิต เนื่องจากขาดพลังงานกัน ยุคใหม่กลายเป็นอ้วนจนเป็นโรคกัน เพราะไขมันกับน้ำตาลเป็นของที่หาง่าย ราคาถูกในยุค 100 ปีที่ผ่านมา)

ส่วนมาการีน ไม่เหม็นหืน ไม่ละลายในอุณหภูมิห้อง ใช้ทำเบเกอรี่ (Bakery) ได้ง่าย (ไม่เหมือนเนย พอเอาออกจากตู้เย็นเพื่อทำขนมปัง วางไว้ข้างนอกไม่นาน เนยร้อน ละลายกลายเป็นน้ำหมด)
คนจึงนิยมใช้มาการีนมากกว่าเนยแท้ ๆ หรือ มันหมู (lard) (ฝรั่งใช้มันหมูนะ ใช้มาตั้งแต่โบราณแล้วด้วย) นอกจากนี้ ด้วยราคาที่ถูก ทำให้เป็นที่นิยมไปอย่างแพร่หลาย ทั้งร้านขนมปังปิ้งข้างทาง, ร้านเบเกอรี่ทั่วไป, ผู้ผลิตขนมปัง

ตอนแรกไม่มีใครรู้เรื่อง Trans fat มาก่อน
จนมาในยุคปัจจุบัน พบว่า Trans fat กินเข้าไปแล้ว สามารถลด HDL และเพิ่มไขมัน LDL
พูดภาษาชาวบ้านคือ กินเข้าไปแล้ว ลดไขมันดี และไปเพิ่มไขมันไม่ดี

ทำให้เพิ่มความเสี่ยงต่อโรคหลอดเลือดต่าง ๆ เช่น เบาหวาน, ความดัน, หลอดเลือดหัวใจ ฯลฯ

Trans fat สามารถพบได้ในอาหารนอกบ้านเกือบทุกที่ รวมถึงขนมที่อยู่ในหีบห่อ
ตัวอย่างเช่น ขนมปังปิ้งทาเนยโรยน้ำตาล (ความจริงทามาการีน), คุ้กกี้ที่ขายอยู่ตามร้านสะดวกซื้อ, เบเกอรี่เกือบทั้งหมด (ยกเว้นบางแบรนด์), ขนมปังใส่ไส้ที่ขายตามร้านสะดวกซื้อ ฯลฯ

สรุปง่าย ๆ คือ
ขนมข้างนอกบ้านแทบทุกชนิดทั้งขนมสดและขนมหีบห่อ
ขนมปังทั้งจากที่ซื้อได้จากร้านสะดวกซื้อและเบเกอรี่
ร้านอาหารข้างทาง, ร้านอาหารทั่วไป, ร้านอาหาร fast food
ส่วนใหญ่ไม่ปลอดภัยจาก trans fat

กินข้าวบ้านดีสุด โดยทำอาหารด้วยวิธีนึ่ง, ต้ม พอทำเสร็จค่อยราดน้ำมัน
โดยเลือกน้ำมันมะกอก (แบบสเปรย์ก็มีนะ), น้ำมันคาโนล่า, น้ำมันรำข้าว
น้ำมันอาจจะมีเขียน Trans fat = 0 แสดงว่าปลอด trans fat
ถ้าเขียนว่า trans fat free แปลว่ามี trans fat อยู่น้อย (ต่อ 1 หน่วยบริโภค) เมื่อเราเจอฉลากแบบนี้ เราไม่ควรบริโภคในปริมาณที่มากเกินไป (trans fat กินเข้าไปนิดเดียวก็เกิดโทษแล้ว)
(เรื่องฉลากต้องระวังให้ดี เนื่องจากจะมีลูกเล่นค่อนข้างเยอะ)

เราอยู่ในโลกของระบบทุนนิยม
เป็นหน้าที่ของผู้บริโภคเอง ที่ต้องรับผิดชอบหาข้อมูล ก่อนที่จะบริโภคสิ่งใด ๆ ก็ตาม

Demikianlah artikel yang berjudul ไขมันทรานส์ (Trans fat)

Terima kasih telah membaca artikel ไขมันทรานส์ (Trans fat), semoga dapat memberi manfaat untuk sahabat semua. Akhir kata, sampai jumpa di postingan artikel lainnya. Wassalamu'alaikum Warohmatullahi Wabarokatuh.

Sahabat telah membaca artikel berjudul ไขมันทรานส์ (Trans fat) dengan alamat link https://wirasnews.blogspot.com/2012/11/trans-fat.html
Advertisement