วิธีตั้งค่า Security ใน nlink Router สำหรับผู้ใช้ตามบ้านทั่วไป

วิธีตั้งค่า Security ใน nlink Router สำหรับผู้ใช้ตามบ้านทั่วไป - Assalamu'alaikum sahabat WirasNews di manapun berada. Selamat datang di blog pribadi ini. Oke, artikel yang sedang sahabat baca saat ini berjudul วิธีตั้งค่า Security ใน nlink Router สำหรับผู้ใช้ตามบ้านทั่วไป, artikel ini ditulis dengan penuh perasaan, dan semoga sahabat semua dapat memahami informasi yang disajikan di dalamnya. Oh iya, kata kunci untuk memahami isi artikel ini adalah Computer, Firewall, Hardening, Internet, Network security, nlink, Router, True Online, Wi-Fi, Wireless, คอมพิวเตอร์, เราเตอร์, อินเทอร์เน็ต, selamat membaca.
Judul : วิธีตั้งค่า Security ใน nlink Router สำหรับผู้ใช้ตามบ้านทั่วไป
link : วิธีตั้งค่า Security ใน nlink Router สำหรับผู้ใช้ตามบ้านทั่วไป


วิธีตั้งค่า Security ใน nlink Router สำหรับผู้ใช้ตามบ้านทั่วไป

สัญลักษณ์สื่อถึงกำแพงไฟ
Photo by juanjo (CC0 1.0)
รู้หรือไม่ว่า
  • Router เป็น hardware firewall ที่ดีในการกั้นเครื่องคอมเราออกจาก internet แต่ต้องแก้ค่ากันซักเล็กน้อย
  • การปล่อยให้ router ใช้รหัสผ่านแบบ WEP (รหัสในสติ๊กเกอร์ที่อยู่ใต้ตัว router ต่อเน็ตนั่นแหละ) ถูกแอบใช้ได้ง่ายมาก
  • การไม่เข้าสัญญาณ Wireless ปล่อยให้ชาวบ้านใช้ฟรี ๆ
    ถ้ามีชาวบ้านคนไหน ที่ใช้แล้ว ไปก่อเรื่องขึ้น
    คนที่จ่ายตังค่าเน็ต เป็นผู้ที่ต้องรับผิดชอบผลงานของชาวบ้าน


วิธีตั้งค่าความปลอดภัยใน nlink Router สำหรับผู้ใช้ตามบ้านทั่วไป (อย่าลืมอ่าน เงื่อนไข การใช้บริการเยี่ยมชมบล็อก ก่อนที่จะลงมือแก้ไขการตั้งค่า router นะ)
nlink Router ที่แถมมากับ True Online
  1. update Firmware
    ดูที่  http://support2.truecorp.co.th/detail.aspx?document_type=1&document_id=212
  2. Login เข้า router
    เข้าไปที่ http://192.168.1.1/
    ช่อง User: ใส่ Admin
    ช่อง Password: ใส่ password
  3. สำรองข้อมูลการตั้งค่า Router ก่อน เผื่อพลาด
    ไปที่ Admin > Backup/Restore > Save Settings to File: กด Save… (จำไว้ด้วยว่า save ไว้ที่ไหน)
  4. ปิดช่องทางสื่อสาร ที่เราไม่ได้ใช้ไป
    ไปที่ Admin
    ดูที่ Tab “Access Control”
    ช่อง WAN เอาติ๊กถูกออกให้หมด
    กด Apply Changes

    จากนั้นแก้ password สำหรับ Login เข้า router เป็นอย่างอื่น
    ไม่เช่นนั้น คนที่เชื่อมต่อเข้ามา ใส่ password ว่า "password" ก็ผ่านได้แล้ว หรือไม่เจอโปรแกรมสุ่ม password แป๊บเดียวก็แกะออกแล้ว
    ดูที่ Tab “Password”
    ตรง User Account Table กด "admin"
    แก้ password เป็นอย่างอื่น จำให้ได้ด้วยว่าตั้งว่าอะไร
  5. ลดโอกาสเชื่อมต่อของ Malware (ชื่อพื้นบ้านคือไวรัส) กรณีที่เราไปติดเข้า แต่ไม่รู้ตัว
    ไปที่ Advance
    ดูที่ Tab “Other”
    ด้ายซ้าย จะเห็นคำว่า UPnP ให้ตั้งเป็น disable (ตัวนี้ถ้าปิดแล้วอาจทำให้โปรแกรมบางตัวใช้ไม่ได้ ถ้าปิดแล้วบางโปรแกรมใช้ไม่ได้ ค่อยกลับมาเปิดก็ได้)
    กด Apply Changes
  6. เปลี่ยนชื่อสัญญาณ ไม่ให้ระบุตำแหน่งที่ตั้งทางกายภาพของเราถ้าคุณคิดจะขโมยข้อมูล คุณจะเลือกอะไร ระหว่าง สัญญาณ Wi-Fi ของ
    บริษัท อภิมหาร่ำรวย จำกัด กับ ไก่กา 555
    ไปที่ WLAN
    ดูที่ Tab “Basic Setting”
    แก้ชื่อ “(Root)SSID:” จาก True (Home) เป็นชื่ออื่นที่ระบุไม่ได้ว่าสัญญาณนี้มาจากบ้านใคร เราอาจจะตั้งว่า North Pole (ขั้วโลกเหนือ) ก็ได้นะ

    ซ่อน SSID ไม่ให้เห็นโต้ง ๆ
    แก้ “SSID:” จาก Enable ให้เป็น Disable (เมื่อ Pair อุปกรณ์เสร็จแล้วให้ Disable)
    แก้ Country/Area: เป็น Thailand

    เข้ารหัสสัญญาณ Wi-Fi ซะ
    ดูที่ Tab “Security”
    แก้ Encryption: จาก WEP เป็น WPA2 (AES) (ถ้าอุปกรณ์ เช่น Notebook, Smartphone, Android, iPhone, RIM BlackBerry เชื่อมต่อไม่ได้ ลองใช้ WPA แทน)
    แก้ WPA Authentication Mode: เป็น Personal(Pre-Shared Key)
    แก้ Pre-Shared Key Format: เป็น Passphrase
    แก้ Pre-Shared Key: เป็น รหัสที่เราต้องการ (บอกรหัสนี้ให้แก่เครื่องที่จะต่อเน็ต (เช่น Android, iPhone, Notebook) เป็นรหัสในการเชื่อมต่อ ยิ่งยาวยิ่งดี)

    บังคับลงทะเบียน MAC Address เครื่องที่จะเชื่อมต่อกับ Wi-Fi เรา
    ดูที่ Tab “Access Control”
    แก้ Select Access Control Mode: เป็น Allow listed
    เพิ่ม Add Access Control List: MAC Address ให้ใส่หมายเลข MAC Address ของเครื่องลูกข่ายลงไป แล้วกด Apply Changes
  7. เมื่อตั้งทุกอย่างเสร็จแล้ว “ต้องทำการ Save ค่าที่เราตั้งไว้” โดยการ
    ไปที่ Admin
    ดูที่ Tab “Commit/Reboot”
    กด Commit
    จากนั้นกด Reboot
    รอ Router Reboot ประมาณ 2 นาที เป็นอันเสร็จสิ้น
  8. หากต้องการ Backup Setting ให้ไปที่ Admin > Backup/Restore > Save Settings to File: กด Save…
  9. เมื่อทำทุกอย่างเสร็จสิ้น อย่าลืม Logout (Admin > Logout)
  10. ทดลอง scan port จากข้างนอก ทดสอบได้ที่ https://www.grc.com > ShieldsUP! > มองหา ShieldsUP!! Services > กด All Service Ports
    ผลที่ได้ควรจะเป็น Stealth (ล่องหน) ทั้งหมด
หมายเหตุ ถ้ามีอุปกรณ์ใหม่ที่จะต่อเข้ากับ Wi-Fi อาจจะต้องกลับมาแก้ค่า SSID ใน router ให้เป็น Enable ก่อน > จับอุปกรณ์ใหม่มาต่อ Wi-Fi > แล้วค่อยกลับไป Disable อีกที

Demikianlah artikel yang berjudul วิธีตั้งค่า Security ใน nlink Router สำหรับผู้ใช้ตามบ้านทั่วไป

Terima kasih telah membaca artikel วิธีตั้งค่า Security ใน nlink Router สำหรับผู้ใช้ตามบ้านทั่วไป, semoga dapat memberi manfaat untuk sahabat semua. Akhir kata, sampai jumpa di postingan artikel lainnya. Wassalamu'alaikum Warohmatullahi Wabarokatuh.

Sahabat telah membaca artikel berjudul วิธีตั้งค่า Security ใน nlink Router สำหรับผู้ใช้ตามบ้านทั่วไป dengan alamat link https://wirasnews.blogspot.com/2012/02/security-nlink-router.html
Advertisement